โครงการนักวิจัยแกนนำ ฝ่ายบริหารความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ (RBC) โครงการนักวิจัยแกนนำ ฝ่ายบริหารความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ (RBC)
  • หน้าแรก
  • โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล-สวทช.
  • โครงการนักวิจัยแกนนำ
  • โครงการ NSTDA Chair Professor
  • โครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่

มหาวิทยาลัยมหิดล – สวทช. แถลงเป้าหมายและแนวทางความร่วมมือเสริมแกร่งระบบวิจัยและนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 ฝ่ายบริหารเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (RNM) ร่วมกับ กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม “การประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช. ประจำปี 2568” ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ MOU โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ โดย ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผพว. พร้อมด้วย รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รอง ผพว. สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา ร่วมแถลงเป้าหมาย แนวทาง และทิศทางของความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ เพื่อเป็นกลไกในการแรงผลักดันให้ความรู้และนวัตกรรมเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง สอดคล้องกับเป้าหมายของทั้งสองหน่วยงาน ภายในงานมีกิจกรรมเสวนา “MU-NSTDA sharing session: แชร์ประสบการณ์การทำงาน รุ่นที่ 1” โดย รศ.ดร.อุรุษา แทนขำ ดร.ศิษเฎศ ทองสิ ดร.รัฐพล เฉลิมโรจน์ และ รศ.ดร.สุรพล พิบูลโภคานันท์ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานร่วมกัน พร้อมแนวทางการประสานงานที่ช่วยเสริมจุดแข็งของแต่ละฝ่าย เพื่อขับเคลื่องานวิจัยให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

 

        ช่วงสุดท้าย ดร.วงศกร พูนพิริยะ ผอ.ฝ่าย RNM นำเสนอแผนกิจกรรม “การขับเคลื่อนความร่วมมือวิจัยและกิจกรรมสร้างเครือข่าย ประจำปี 2568” โดยทั้งสองหน่วยงานยังมีแผนจัดกิจกรรม Networking & Lab Visit เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และต่อยอดสู่การพัฒนา Virtual Research Group หรือ Cluster ในสาขาวิชาต่าง ๆ และได้ประชาสัมพันธ์รายละเอียดการเปิดรับสมัครโครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ รุ่นที่ 2 ประจำปี 2568 (MU-NSTDA 2nd Call) ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมงานกว่า 70 คน

ผู้สนใจสามารถรับชมบันทึกวีดีโอย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/NSTDATHAILAND/videos/1690119815189142

Read more ...

ประกาศรับข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย ความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล - สวทช. ประจำปี 2568

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศรับข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย ประจำปี 2568 ภายใต้ โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างเครือข่ายการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ มุ่งต่อยอดไอเดียสู่งานวิจัยที่สร้างผลลัพธ์ชัดเจนและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตั้งแต่บัดนี้ – 30 พฤษภาคม 2568 ภายในเวลา 16.30 น.

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • หัวหน้าโครงการวิจัยเป็นนักวิจัยความสามารถสูงระดับรองศาสตราจารย์ (คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล) หรือนักวิจัยระดับ PG17 (นักวิจัยของ สวทช.) ขึ้นไป
  • หัวหน้าโครงการต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญตรงตามสาขาที่ดำเนินการ และไม่เป็นผู้ติดค้างต่อการส่งงานตามสัญญาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนแห่งใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  • คณะวิจัยประกอบด้วยบุคลากรทั้ง 2 หน่วยงาน

การส่งข้อเสนอโครงการ

หัวหน้าโครงการหลักจัดส่งแบบข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ในรูปแบบเอกสาร จำนวน 5 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด และสำเนา 4 ชุด) และในรูปแบบ Microsoft Word (.docx) และ PDF ผ่านผู้ประสานงานของหน่วยงานต้นสังกัดภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 ภายในเวลา 16.30 น.

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และดาวน์โหลดเอกสารได้ที่

  • โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล-สวทช.  https://www.nstda.or.th/ChairProfessor/mahidol-nstda-excellence.html/
  • กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล https://op.mahidol.ac.th/ra/category/research-news/
Read more ...

งานประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย ประจำปี 2566 ภายใต้ความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช.

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา สวทช. ร่วมกับกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย ประจำปี 2566 ภายใต้ความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช. ในรูปแบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สวทช. สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา กล่าวต้อนรับและชี้แจงเป้าหมาย

Read more ...

ประกาศรับข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย ประจำปี 2566 โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศรับข้อเสนอโครงการร่วมวิจัย ประจำปี 2566 โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้ง สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ และสร้างผลงานที่มีผลกระทบสูง นำไปสู่การพัฒนาความเข้มแข็งของหน่วยงานทั้งสอง ตั้งแต่บัดนี้ – 18 ตุลาคม 2565 ภายในเวลา 17.00 น.

Read more ...

สัมมนางาน NAC2022: เทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโครงการนักวิจัยแกนนำ ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ (RBC) ให้การสนับสนุนนักวิจัยแนวหน้าและศักยภาพสูงของประเทศ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และผลงานวิจัยรูปแบบต่างๆ ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พลังงาน การเกษตร จัดสัมมนาเรื่อง "เทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี" ภายในการประชุมประจำปี 2565 สวทช. ครั้งที่ 17 (NAC2022) ในรูปแบบออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยแกนนำ สวทช. ได้บรรยายและเผยแพร่องค์ความรู้ ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน โดยได้รับเกียรติจาก ศ. นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเปิดงาน และวิทยากรจำนวน 4 ท่าน ได้แก่

Read more ...

นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562-2563 รับพระราชทานเกียรติบัตรในงาน NAC2022

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการประชุมประจำปี 2565 สวทช. ครั้งที่ 17 (NAC2022) ภายใต้แนวคิด “พลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม BCG” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 31 มีนาคม 2565 ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และในรูปแบบออนไลน์ ในโอกาสนี้ได้พระราชทานเกียรติบัตรแก่นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562 ได้แก่ ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร สังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข สังกัด ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยสุรนารี ศ. ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล สังกัด สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563 ได้แก่ ศ. นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล สังกัด คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาววิทยาลัยมหิดล ศ. ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล สังกัด คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา สังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้ร่วมวิจัย เพื่อความเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล ตลอดจนเป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเองและกลุ่มวิจัย เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศต่อไป

Read more ...

นิทรรศการงาน NAC2022: ถนนผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต

"ถนนผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต" ศ.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562 และทีมวิจัย จัดแสดงผลงาน "การพัฒนาศักยภาพการใช้เถ้าหนักเพื่อใช้เป็นวัสดุมวลรวมละเอียดในผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต" ในงานประชุมประจำปี 2565 ของสวทช. (NAC2022) โดยได้พัฒนาพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้ AC60/70 ร่วมกับเถ้าหนัก (วัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ที่มีสมบัติและสมรรถนะทางวิศวกรรมใกล้เคียงกับพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้ PMA และเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวง แต่มีต้นทุนในการก่อสร้างต่ำกว่าถึงร้อยละ 24 ผลลัพธ์ของงานวิจัยจะส่งเสริมให้เกิดการก่อสร้างถนนที่มีความปลอดภัยสูง ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/nac/2022/exhibition/bcg51/
Read more ...

ยาย้อนวัย “มณีแดง” REjuvenating DNA by GEnomic stability Molecules (RED-GEMs)

ยาย้อนวัย “มณีแดง” REjuvenating DNA by GEnomic stability Molecules (RED-GEMs) โดยทีมวิจัย ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร สังกัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2561  

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผอ. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการ ผอ. สวทช. และคณะนักวิจัย เข้าพบหารือกับ ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เรื่อง ความก้าวหน้าการต่อยอดยาย้อนวัย “มณีแดง” REjuvenating DNA by GEnomic stability Molecules (RED-GEMs) โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมรัฐมนตรีชั้น 2 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว.

 

มณีแดงแบบ Molecular Scissors สามารถย้อนวัยหนูที่ชราแล้วให้กลับเป็นหนุ่มได้ โดยสร้างข้อต่อดีเอ็นเอทำให้เซลล์ที่ชราแล้วกลับมามีรูปร่างและการทำงานเหมือนเซลล์ปกติ มณีแดงจึงอาจมีศักยภาพนำไปใช้ในด้านต่างๆ ในอนาคต เช่น รักษาโรคที่มีกลไกมาจากเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะเสื่อมสภาพ รักษาโรคที่อวัยวะเสื่อมสภาพจากการทำลายจากสิ่งแวดล้อม เสริมสมรรถภาพของคนชราให้มีศักยภาพทางกาย รูปร่างหน้าตา เท่ากับคนหนุ่มสาว

Read more ...

เครื่องทำน้ำแข็งสำหรับศัลยกรรมทรวงอก

การผ่าตัดที่ต้องเปิดช่องอกของผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้น้ำแข็งที่ทำจากน้ำเกลือที่ใช้ทางการแพทย์ (0.9% Normal saline) โดยใส่ลงไปที่ช่องอกของผู้ป่วยขณะผ่าตัด เพื่อรักษาอวัยวะให้สด หากเป็นการผ่าตัดหัวใจ น้ำแข็งจะช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับผลกระทบขณะหัวใจหยุดเต้นระหว่างรับการผ่าตัด ปัจจุบันการทำน้ำแข็งสำหรับศัลยกรรมทรวงอกมีขั้นตอนมากในการเตรียม ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง การทุบน้ำแข็ง ทำให้เกิดความแหลมคม และยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อน ทำให้ติดเชื้อได้จากการทุบน้ำแข็ง ให้แตกด้วยของแข็ง  ทำให้น้ำแข็งมีความแหลมคม ซึ่งอาจไปทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ได้

ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ นักวิจัยแกนนำประจำปี 2561 สังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะ ได้ออกแบบและประดิษฐ์ “เครื่องทำน้ำแข็งสำหรับศัลยกรรมทรวงอก” (เลขที่คำขอสิทธิบัตร 1601003115) เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าว สามารถผลิตนำแข็งที่มีความเนียนและนุ่ม (Slush) ได้ภายในเวลา 45 นาที จากเดิมที่ใช้เวลาในการทำน้ำแข็ง 3-4 ชั่วโมง และได้ส่งมอบให้กับศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อนำไปใช้ในห้องผ่าตัดศัลยกรรมทรวงอก เพื่อความสะอาดปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งาน

Read more ...

งาน NAC2021: เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 โปรแกรมการพัฒนาที่ยั่งยืน และโปรแกรมการส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยแกนนำ จัดสัมมนาวิชาการผ่านระบบออนไลน์ ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2021) ภายใต้หัวข้อ “เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวเปิดงาน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่

  • ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล (นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562) สังกัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.วิกรม วัชระคุปต์ สังกัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ บริษัท โลตัส ประเทศไทย 

โดยการบรรยายภายใต้หัวข้อนี้ ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะและของเสียมาใช้ประโยชน์ใหม่ การนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้เพื่อลดการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ การเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ ลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3  จากปัจจุบัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ พลาสติกครบวงจร การก่อสร้างอย่างยั่งยืน และอุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร

ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อสร้างอย่างยั่งยืน โดยคอนกรีตเป็นวัสดุที่มีการใช้มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากน้ำ อุตสาหกรรมการก่อสร้างปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณร้อยละ 20 มากที่สุดเป็นอันดับสามรองจากภาคการผลิตไฟฟ้าและการขนส่ง อย่างไรก็ตามการก่อสร้างที่ผ่านมาเน้นการก่อสร้างที่มีความแข็งแรง ยังไม่ได้คำนึงความคงทน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความคงทนของสิ่งปลูกสร้างมีความคงทนแตกต่างกัน ดังนั้น การก่อสร้างอย่างยั่งยืนจะต้องพิจารณา 4 ส่วน  ได้แก่ การวิเคราะห์ออกแบบ วัสดุก่อสร้าง การปฏิบัติงานก่อสร้าง และการบำรุงรักษา ซึ่งจะต้องทำการศึกษาและจัดทำมาตรฐาน คู่มือปฏิบัติ และข้อกำหนดที่ใช้ในการก่อสร้างให้ครบอายุการใช้งาน ไปพร้อมกันด้วย

ผู้สนใจสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังและ Download เอกสารได้ที่ 
https://www.nstda.or.th/nac/2021/2021/03/03/ss29-drive-thailand-industries-by-circular-economy/

Read more ...

More Articles ...

  1. บทความ "โรคโควิด-19" โดย ศ.ดร.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2553
  2. สวทช. เปิดตัว นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563
  3. บทความ "การระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทย" โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2557
  4. บทความ "จ้ำม่ำ-จำเสื่อม-ใจสลาย" โดย ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร
  5. เปิดตัว 3 นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562
  6. นักวิจัยแกนนำปี 2561 เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรฯ
  7. เสวนา ถอดประสบการณ์การบริหารกลุ่มวิจัยขนาดใหญ่

เมนูหลัก

  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวโครงการนักวิจัยแกนนำ
    • ข่าวโครงการ NSTDA Chair Professor
    • ข่าวโครงการนักวิจัยอาชีพ
    • ข่าวโครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล-สวทช.
  • กิจกรรม
  • ทำเนียบ
    • โครงการนักวิจัยแกนนำ
    • โครงการ NSTDA Chair Professor
    • โครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ
    • โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล-สวทช.
  • เอกสารเผยแพร่
  • แบบฟอร์มต่างๆ
  • การส่งแบบขอรับการสนับสนุน
  • Chair Professor e-News
  • บทความนักวิจัยแกนนำ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล