หลักการและที่มาของโครงการ

         ในปัจจุบันมีทุนสนับสนุนการวิจัยหลายประเภทที่มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวิชาชีพของนักวิจัยขึ้นแม้ว่าทุนดังกล่าวจะประสบความสำเร็จพอสมควร แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้มีการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งสำเร็จ การศึกษาจากต่างประเทศได้ดีนัก ทั้งยังไม่สามารถทำให้นักวิจัยทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์ พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างให้เกิดกลุ่มนักวิจัย  ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นให้มีจำนวนมากพอที่จะรองรับ การพัฒนาของประเทศจึงได้จัดให้มี “ โครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ” ขึ้น เพื่อสนับสนุนกลุ่ม นักวิจัยที่มีความสามารถ ในการวิจัยให้สามารถทุ่มเทเวลาและสติปัญญาในการวิจัยและพัฒนาได้ อย่างเต็มที่ มีการรวมกลุ่มทำวิจัย เพื่อสร้างทีมวิจัยที่แข็งแกร่งขึ้นในประเทศ มุ่งให้เกิดความคล่องตัว ในการทำวิจัย การสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยโดยให้สามารถยึดการวิจัยเป็นอาชีพได้ มีเกียรติ มีรายได้ที่ดีพอเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งเป็นการรักษากำลังคนระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้สามารถผลิตบุคลากรในระดับ ปริญญาโทและเอก และพัฒนานักวิจัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

          จากการดำเนินการโครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา  6 ปี  สวทช. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยดังกล่าวไปแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 13 ทุน  ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การสนับสนุนเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น สวทช. จึงได้เพิ่มขอบเขตการสนับสนุน ครอบคลุม 4 สาขาเทคโนโลยี และ 8 คลัสเตอร์/โปรแกรม ของ สวทช. ซึ่งได้แก่

  • อาหารและการเกษตร
  • การแพทย์และสาธารณสุข
  • ซอฟต์แวร์ ไมโครชิป อิเล็กทรอนิกส์
  • ยานยนต์และการขนส่ง
  • พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • เซรามิกส์
  • สิ่งทอและเคมีภัณฑ์

การวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาชุมชนชนบทและผู้ด้อยโอกาสและเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น  “โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ” 

วัตถุประสงค์

            เพื่อสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยที่มีความสามารถในการวิจัยให้สามารถทุ่มเทเวลาและสติปัญญาในการวิจัยและพัฒนาได้อย่างเต็มที่มีการรวมกลุ่มทำวิจัยเพื่อสร้างทีมวิจัยที่แข็งแกร่งขึ้นในประเทศ มุ่งให้เกิดความคล่องตัวในการทำวิจัย การสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยโดยให้สามารถยึดการวิจัยเป็นอาชีพได้มีเกียรติมีรายได้ ที่ดีพอเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งเป็นการรักษากำลังคนระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ สามารถผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโทและเอก และพัฒนานักวิจัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย 

เป้าหมาย

            เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่เข้มแข็ง และมีการทำงานเป็นทีม มีโครงสร้างในการพัฒนานักวิจัยอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยง ตั้งแต่ระดับนักศึกษาจนถึงระดับนักวิจัยอาวุโส