ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. คนที่ 6

ชื่อ-นามสกุล  ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์

ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง] สำเนาหนังสือแต่งตั้ง

สถานที่ทำงาน  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

การทำงาน

  • ปี 2565 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • ปี 2561 – 2565 ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ปี 2556 – 2561 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปี 2552 – 2556 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปี 2552 – 2556 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางฟิสิกส์คำนวณและทฤษฎี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์
  • ปี 2549 – 2561 ศาสตราจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปี 2564 – ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
  • ปี 2559 – ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • ปี 2563 – 2565 กรรมการ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
  • ปี 2562 – 2565 Vice Chair of PISA Governing Board, OECD
  • ปี 2556 – 2560 นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย
  • ปี 2555 – 2559 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • ปี 2555 – 2559 กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
  • ปี 2554 Research Associate ณ Oak Ridge National Laboratory สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2549 ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ณ University of California, Santa Barbara สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2546 – 2550 Research Associate ณ National Renewable Energy Laboratory สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2543 – 2545 Postdoctoral Fellow ณ Xerox Palo Alto Research Center สหรัฐอเมริกา

Read more

ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ 2564

ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ 2564

Read more

นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 100 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564

นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ย่อยโลกข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณ ฉบับที่ 100 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 พบกับหลากหลายเรื่องราวความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับนี้พบกับ
เรื่องจากปก: 30th Anniversary Story of NSTDA: สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่่อยกระดับการเกษตรของคนไทย

⚛️ บทความพิเศษ: (โดย อรพินท์ วิภาสุรมณฑล)
– “มารี กูรี” หนึ่งหญิง ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกวิทยาศาสตร์ บทที่ 4
บทบาทของมารีในสงครามโลก ครั้้งที่่หนึ่่ง

– การพาสเจอไรซ์อาหารด้วยคลื่่นไมโครเวฟ (Microwave Pasteurization of Food)
โดย นางสาวซูอัยบะห์ กาเต๊ะ

⚛️ ร้อยพันวิทยา: (โดย รวิศ ทัศคร)
– คาร์บอนไดออกไซด์แล้วไง ข้องใจเหรอคะ ตอนที่ 2

⚛️ สภากาแฟ: (โดย ผศ. ดร.ป๋วย อุ่นใจ)
– เจเนอเรชันโควิด: วิกฤตซ้อนวิกฤต เมื่อโควิดติดเด็ก!

⚛️ เปิดโลกนิทานดาว: (โดย พงศธร กิจเวช)
– กลุ่มดาวปู ที่มาของเดือนกรกฎาคม

⚛️ สาระวิทย์ในศิลป์: (โดย วริศา ใจดี)
– ไขความลับ Scanimation

⚛️ ปั้นน้ำเป็นปลา (โดย ชวลิต วิทยานนท์)
– บ้านของปลาก้นอ่าวไทย ตอนที่ 1
.
⏬ ดาวน์โหลดฟรี นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 100

[ดาวน์โหลดฟรี] | [อ่านออนไลน์]

3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : การพัฒนากำลังคน

7.ด้านการพัฒนากำลังคน

นอกจากการวิจัยและพัฒนาแล้ว สวทช. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ด้วย ที่ผ่านมาสามารถแยกภารกิจด้านการพัฒนากำลังคนของ สวทช. ได้เป็น 3 ด้านหลักคือ การพัฒนาบุคลากรวิจัย การสร้างแรงบันดาลใจ และการพัฒนาทักษะเพิ่มเติม หรืออัพสกิล-รีสกิล สำหรับผู้ที่ใช้ วทน. ทั้งในภาครัฐและเอกชน

ทั้งนี้ สวทช. ได้พัฒนาบุคลากรวิจัยผ่านกลไกในการให้ทุน ซึ่งมีทั้งการบ่มเพาะเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาผ่านโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน” (JSTP) โครงการสร้างปัญญาวิทย์ ผลิตนักเทคโน (YSTP) สำหรับนำนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมาบ่มเพาะให้มีทักษะกระบวนการวิจัยที่มีความสามารถในการทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ สำหรับระดับปริญญาโท – ปริญญาเอก มีจะทุนการศึกษาที่เรียกว่า โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (TGIST) ซึ่งโปรแกรมการให้ทุนหลัก ๆ เหล่านี้ สวทช. ให้ทุนไปแล้วกว่า 3,000 ทุน และจบการศึกษาแล้วกว่า 2,200 คน

สวทช.ยังมีทุนที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ รวมถึงทุนที่เกิดจากความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาบุคลากรด้าน STEM รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง

สำหรับการสร้างแรงบันดาลใจ สวทช. เน้นการให้ความรู้ที่เสริมกับการเรียนในห้องเรียนผ่านกิจกรรมค่ายต่าง ๆ ของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และเฟ้นหานักวิทย์รุ่นเยาว์ผ่านการอบรมและการประกวดที่สามารถต่อยอดไปสู่เวทีนานาชาติได้ เช่น การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) โครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) โครงการพัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย (RDC) นอกจากนี้ยังร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย จัดกิจกรรมในโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เพื่อปูพื้นฐานเด็กไทยให้รักและสนใจการเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อายุยังน้อย ตลอดจนเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต

ส่วนการอัพสกิล-รีสกิล สวทช. มีหลักสูตรการอบรมและการสอบมาตรฐาน ที่จะช่วยส่งเสริมและเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ รวมถึงนักวิจัยที่ใช้ วทน. ในการประกอบอาชีพอีกด้วย

ดาวน์โหลดเอกสาร

3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

6. ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

สวทช. ริเริ่มการสนับสนุนภาคเอกชนด้วยการพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือไอแทป (ITAP ) ภายใต้การดูแลของศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ในการสนับสนุนและผลักดันให้เอสเอ็มอี สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถยกระดับการผลิต สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ และมีการวิจัย พัฒนาและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถสร้างรายได้ที่แท้จริง และต่อยอดส่งเสริม สนับสนุนภาคเอกชนในการสร้างขีดความสามารถเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศด้วยนิคมวิจัยสำหรับเอกชนแห่งแรกในไทย “อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” ซึ่งเป็นนิคมวิจัยที่มีความสำคัญและขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน

TMC สวทช. ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงงานวิจัยกับผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมและมีบริการสนับสนุนที่ครบวงจรทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจและด้านการเงิน เช่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ให้การสนับสนุนบ่มเพาะและเป็นพี่เลี้ยงให้กับสตาร์อัปด้านเทคโนโลยีที่มีไอเดียแล้วต้องการต่อยอดธุรกิจ การร่วมลงทุน การดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP) และการอนุญาตใช้สิทธิผลงานวิจัย (Licensing) ซึ่งเป็นกลไกผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด การประเมินจัดลำดับเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการไทยฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรับทราบถึงขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ และบัญชีนวัตกรรมไทย
นอกจากนี้ สวทช. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยของประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นตัวเชื่อมโยงนักวิจัยกับผู้ประกอบการแล้ว ยังมีโครงการจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ณ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการขยายผลงานวิจัย ทดสอบ ประเมินความเป็นไปได้สู่การใช้งานจริงเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์

ภายใต้การดำเนินงานของ สวทช. ยังมี “ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย” (TBRC) ศูนย์กลางในการให้บริการชีววัสดุที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ ครอบคลุมบริการชีววัสดุประเภทต่าง ๆ แบบครบวงจร “ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ” (NBT) ที่ให้บริการและเป็นแหล่งจัดเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพระยะยาว และการพัฒนา “ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตแห่งชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลาง ในการเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สวทช. ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถสินค้าและบริการไทย โดยจัดตั้งห้องปฏิบัติการให้บริการด้านการวิเคราะห์และทดสอบตามมาตรฐานสากล เช่น ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านและเซรามิกอุตสาหกรรม (CTEC) ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NCTC) ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) และศูนย์ทดสอบทางพิษวิทยาและชีววิทยา (TBES)

ดาวน์โหลดเอกสาร

3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ความมั่นคงของประเทศ การรับมือโรคระบาดและภัยพิบัติ

5. ด้านความมั่นคงของประเทศ การรับมือโรคระบาดและภัยพิบัติ

สวทช. ทำงานทางด้านความมั่นคงมาระดับหนึ่ง ตั้งแต่สมัยที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้ร่วมมือกับสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ในการพัฒนาเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า “ทีบ็อกซ์” เครื่องรบกวนสัญญาณไร้สาย เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยมากขึ้น และทดแทนเทคโนโลยีนำเข้าราคาแพงจากต่างประเทศ จากผลงาน “ทีบ็อกซ์” ที่สามารถใช้งานได้จริง ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศเกิดความเชื่อมั่นในผลงานของนักวิจัยไทยและต่อยอดความร่วมมือไปยังเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น เกราะกันกระสุน เสื้อเกราะกันกระสุน วิจัยและพัฒนาคุณภาพใบพัดยางและยางกันกระแทกท่าเรือ ต้นแบบคัพปลิ้งแบบยืดหยุ่นที่ใช้ในเรือตรวจการณ์ ต้นแบบอาหารพลังงานสูงน้ำหนักเบาสำหรับพกพา E-nose ในการตรวจวัดกลิ่นแทนสุนัขทหาร และระบบติดตามผุ้ต้องสงสัย เป็นต้น

สวทช. ยังสร้างความปลอดภัยให้กับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชัน Traffy ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านสมาร์ตซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ เช่น Traffy Waste” (ทราฟฟี่ เวสต์) หรือ ระบบจัดการการเก็บขยะอัจฉริยะ และ “Traffy Fondue” (ทราฟฟี่ ฟองดูว์) แพลตฟอร์มที่จัดทำขึ้นสำหรับสื่อสารปัญหาของเมืองระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่รับผิดชอบ พร้อมด้วยการออกแบบและพัฒนา “ห้องโดยสารรถพยาบาลให้ได้โครงสร้างความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับแรงกระทําที่เกิดขึ้นกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ” และระบบ “SOS Water” เพื่อแก้ปัญหาน้ำดื่มยามประสบภัยพิบัติ

สำหรับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 สวทช. ได้ประยุกต์ใช้ “Traffy Fondue” ในแพลตฟอร์มไลน์แชตบอท เพื่อให้ประชาชนใช้ในการรายงานข้อมูลบุคคลเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงการระบาดโควิด-19 และพื้นที่กรุงเทพมหานคร เดินทางกลับภูมิลำเนาได้อย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาแอปพลิเคชันดีดีซี-แคร์ ติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรควิด-19 ร่วมกับกรมควบคุมโรค

นอกจากนี้เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามเผชิญภาวะวิกฤต สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ด้วยวิธีสกัด RNA เชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 แบบง่าย และเทคโนโลยีโคซี-แอมป์ ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว ซึ่งช่วยให้การตรวจคัดกรองมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ยับยั้งการแพร่ระบาดได้ดีขึ้น รวมถึงพัฒนานวัตกรรมสำหรับการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น “PETE เปลปกป้อง” เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแรงดันลบแบบปลอดภัย อุปกรณ์ “MagikTuch” ปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส และ “นวัตกรรมอุปกรณ์ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี (Girm Zaber Robot) ซึ่งมีทั้งรุ่นที่เป็น Station และหุ่นยนต์ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี – ซี (UV-C) สามารถเข้าถึงการฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เฉพาะและจุดเสี่ยงโรคต่าง ๆ ได้ดี

ดาวน์โหลดเอกสาร