ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ในระหว่างแยกกักตัว

ตามที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่จำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม สก. ขอนำเสนอ ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ในระหว่างแยกกักตัว (Home Isolation) และขอความร่วมมือพนักงานทุกท่านให้มีการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด

  1. แยกข้าวแยกสำรับ ไม่กินข้าวร่วมกัน เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคได้
  2. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อน ส้อม จาน ชาม ผ้าขนหนู และโทรศัพท์
  3. แยกใช้ห้องน้ำจากผู้อื่น หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกับผู้อื่นขอให้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อทันที
  4. ฆ่าเชื้อ หรือทำความสะอาดเมื่อสัมผัส สวิตซ์ไฟ ลูกบิดประตู ด้วยแอลกอฮอล์
  5. สวมหน้ากากเมื่อต้องเจอผู้อื่น อยู่ในห้องส่วนตัว เว้นระยะห่างจากคนในครอบครัว ผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง

คู่มือโควิด-19

สวทช. โดยฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ เขียนโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ จัดทำเอกสารนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยมีเนื้อหาดังนี้

  • โคโรนาไวรัสชนิดใหม่คืออะไร
  • ทำไมจึงเรียกว่า โควิด-19?
  • โควิด-19 พบครั้งแรกในประเทศจีนใช่หรือไม่
  • ไวรัสแพร่กระจายอย่างไร?
  • อากาศร้อนช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้จริงหรือไม่?
  • ยุงหรือเห็บหมัดนำเชื้อไวรัสนี้ได้หรือไม่?
  • ต้องป้องกันตัวเองอย่างไร?
  • การสวมหน้ากากอนามัยสำคัญอย่างไร?
  • มีข้อควรระวังเกี่ยวกับหน้ากากอะไรบ้าง?
  • หากต้องไปรักษาตัวด้วยโรคอื่นที่โรงพยาบาลช่วงโควิด-19 ระบาดจะปลอดภัยหรือไม่?
  • จะติดเชื้อจากจดหมายหรือพัสดุภัณฑ์ได้หรือไม่?
  • ยังบริจาคเลือดได้ไหม?
  • คนที่สวมคอนแทกต์เลนส์ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษหรือไม่?
  • น้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?
  • การทำความสะอาดพื้นผิวแลพผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรทำอย่างไร?
  • ถ้าป่วยหรือมีคนในบ้านป่วย ควรทำอย่างไร?
  • หากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?
  • เด็กๆ มีความเสี่ยงที่จะป่วยจากโควิด-19 แค่ไหน?
  • เด็กๆ จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่?
  • เด็กๆ ออกไปเล่นกับเพื่อนได้หรือไม่?
  • เด็กๆ ใช้เวลากับผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคปรจำตัวได้หรือไม่?
  • โควิด-19 ทำให้เกิดอาการอย่างไรบ้าง?
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะติดไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 พร้อมกัน?
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเก็บตัวอย่างและตรวจที่บ้าน?
  • จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อแค่ไหน?
  • เมื่อใดควรเข้ารับการตรวจโควิด-19 และผลตรวจหมายความว่าอย่างไร?

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ เว็บไซต์ สวทช.

Disclaimer: ข้อมูลในเอกสารนี้ได้จากการประมวลข้อมูลจากหลายแหล่งอ้างอิง โดยหลักมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC, Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา, องค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization), เว็บไซต์ด้านวิชาการ เช่น วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ และสื่อสารมวลชนที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูง ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลการปฏิบัติตนบางอย่างที่แตกต่างออกไป ให้ถือปฏิบัติตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)

สวทช. ดำเนินงานวิจัยเพื่อสู้ภัยโควิด-19

สวทช. รวบรวมงานวิจัยเพื่อต่อสู้ภัยโรคโควิด (Covid-19)

                  

https://www.nstda.or.th/home/news_post/research-innovation-fight-covid19/

ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

เทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) คือ เทคนิคที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมทั้ง DNA และ RNA ที่อุณหภูมิในช่วง 60-65 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ถึง 1000 ล้าน (10 ยกกำลัง 9) เท่า ภายในเวลา 1 ชั่วโมง เทคนิคแลมป์เป็นเทคนิคตรวจหาสารพันธุกรรมของตัวเชื้อ เช่นเดียวกับ เทคนิค PCR และ Realtime-PCR โดย LAMP มีความไวในการตรวจวัด (sensitivity) สูงกว่า PCR และอาจเทียบเท่า Realtime-PCR และเนื่องจาก LAMP มีความจำเพาะ (specificity) กับตัวเชื้อสูง มีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย และใช้เครื่องมือราคาไม่แพง เทคนิค LAMP จึงถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจหาเชื้อในผู้ป่วย หรือผู้ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง

Read more

ชุดสกัด RNA ของเชื้อไวรัส โดยใช้ Magnetic Bead

16 ก.ค.63 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว  “ความสำเร็จการพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อโควิด-19 และชุดตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็ว ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว (COVID-19 XO-AMP colorimetric detection kit) ” เพื่อประหยัดงบประมาณและลดการนำเข้าชุดสกัดอาร์เอ็นเอ และชุดตรวจจากต่างประเทศ พร้อมด้วยการลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ ระหว่าง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช.

Read more

แถลงข่าวเว็บไซต์ mds4covid19.in.th

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) เครือข่ายโรงพยาบาล กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดแถลงข่าว ระบบบริหารความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์สู้ภัยโควิด–19  แพลตฟอร์มเพื่อการบริจาค การจับคู่ ความต้องการและการบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์

Read more

ระบบบริหารความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์

12 พฤษภาคม 2563 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) เครือข่ายโรงพยาบาล กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดแถลงข่าว “ระบบบริหารความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์สู้ภัยโควิด–19 (Medical Devices Demand-Supply Matching for COVID-19)” แพลตฟอร์มเพื่อการบริจาค การจับคู่ ความต้องการและการบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ในภาวะวิกฤตโควิด–19

โดยมี ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คุณพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมงานแถลงข่าว

Read more

ห้องสมุดประชาชนกับการตอบสนองต่อ COVID-19

แนวทางการตอบสนองของห้องสมุดประชาชนในสหรัฐอเมริกาต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากการสำรวจของ โดย Public Library Association ภายใต้ American Library Association (ALA)

Read more

แอปพลิเคชัน DDC-Care ติดตามประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ

สวทช. ร่วมกับ กรมควบคุมโรค สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน DDC-Care โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด -19 ซึ่งจะต้องกักตัวเองอยู่ภายในที่พักอาศัยเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งกรมควบคุมโรคจะประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลสุขภาพที่ได้จากระบบ เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

Read more

ต้นแบบเปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบความดันลบ

PETE​ (พีท)​ เปลปกป้อง​ : เปลความดันลบ​ ที่เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด​ ตั้งแต่จุดเคลื่อนย้ายไปจนถึ​งนำเข้าเครื่องเอกซเรย์และซีที​ สแกน​ ได้ทันที​ เพื่อ​ประเมินความเสียหายปอดของผู้ติดเชื้อโควิด​ โดยไม่ต้องนำผู้ป่วยออกจากเปล ช่วยลดการแพร่เชื้อแบบเบ็ดเสร็จ

Read more