บุคลากรสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน 14 คน ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ประจำปี 2566 “The World’s Top 2% Scientists 2023” โดย Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา
การจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ World’s Top 2% Scientists แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (Career-Long Citation Impact) ตั้งแต่ ค.ศ. 1996 – 2022 มีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ 204,643 คนจากทั่วโลก เป็นนักวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย 230 คน โดยมีบุคลากร สวทช. 7 คน ได้แก่
- ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. ในสาขา Applied Physics อยู่ในอันดับที่ 5,585 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 295,432 คน
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลทางการแพทย์ ไบโอเทค ในสาขา Mycology & Parasitology อยู่ในอันดับที่ 314 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 25,937 คน
- ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค ในสาขา Food Science อยู่ในอันดับที่ 807 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 72,818 คน
- Dr.Masahiko Isaka นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค ในสาขา Medicinal & Biomolecular Chemistry อยู่ในอันดับที่ 762 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 99,369 คน
- ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ เอ็มเทค ในสาขา Materials อยู่ในอันดับที่ 3,383 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 281,605 คน
- ดร.กมล เขมะรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค ในสาขา Networking & Telecommunications อยู่ในอันดับที่ 3,541 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 197,500 คน
- ดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค ในสาขา Polymers อยู่ในอันดับที่ 2,020 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 108,979 คน
กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะ ค.ศ. 2022 สูงที่สุด (citation impact during the single calendar year 2022) มีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ 210,198 คนจากทั่วโลก เป็นนักวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย 341 คน โดยมีบุคลากร สวทช. 10 คน ได้แก่
- ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค ในสาขา Food Science อยู่ในอันดับที่ 807 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 72,818 คน
ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการ สวทช. สายงานบริหาร ในสาขา Pharmacology & Pharmacy อันดับที่ 2,456 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 140,593 คน - ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. สายงานอุตสาหกรรมและชุมชน ในสาขา Analytical Chemistry อยู่ในอันดับที่ 1,441 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 115,145 คน
- Dr.Masahiko Isaka นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค ในสาขา Medicinal & Biomolecular Chemistry อยู่ในอันดับที่ 1,072 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 99,369 คน
- ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ ไบโอเทค ในสาขา Fisheries อยู่ในอันดับที่ 548 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 37,382คน
- ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน นาโนเทค ในสาขา Physical Chemistry อยู่ในอันดับที่ 513 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 38,735 คน
- ดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค ในสาขา Polymers อยู่ในอันดับที่ 2,080 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 108,979 คน
- ดร.เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค ในสาขา Mycology & Parasitology อยู่ในอันดับที่ 374 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 25,937 คน
- ดร.ยุทธนา อินทรวันณี นักวิจัย กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ เนคเทค ในสาขา Optoelectronics & Photonics อยู่ในอันดับที่ 2,141 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 123,678 คน
- ดร.พรกมล อุ่นเรือน นักวิจัย กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค ในสาขา Biotechnology อยู่ในอันดับที่ 1,128 จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 59,267 คน
การจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ World’s Top 2% Scientists ประเมินจากการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 – 2022 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566) โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย (เช่น Citations, h-index และ Co-Authorship Adjusted, hm-index เป็นต้น)
อ้างอิงและดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Ioannidis, John P.A. (2023), “October 2023 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Elsevier Data Repository, V6, doi: 10.17632/btchxktzyw.6