รายงานประจำปี 2552 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Titleรายงานประจำปี 2552 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Publication TypeBook
Year of Publication2010
Corporate Authorsสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,
Editionพิมพ์ครั้งที่ 1
Number of Pages107 หน้า
Publisherสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Cityปทุมธานี
KeywordsPolicy and administration, Policy and political science, รายงานประจำปี, สวทช., สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Abstract

ในปี 2549 สวทช. ได้ริเริ่มระบบการบริหารจัดการการวิจัยพัฒนาภายใต้นโยบายคลัสเตอร์ ที่เรียกว่า Strategic Planning Alliance (SPA) ซึ่งมุ่งทำวิจัยและพัฒนาคลัสเตอร์เป้าหมาย 7 คลัสเตอร์ ของประเทศเป็นหลัก สำหรับปี 2551 แม้ สวทช. ยังคงแบ่งกลุ่มโปรแกรมเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ A, B, C, และ D แต่ได้เพิ่มคลัสเตอร์เป้าหมายในการดำเนินงานเป็น 8 คลัสเตอร์ และได้ปรับปรุงคุณสมบัติในแต่ละกลุ่มให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำนินงาน สวทช. มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 สวทช. ได้เริ่มนำ Balanced scorecard (BSC) มาเป็นเครื่องมือในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (strategy-to-action) และสร้างความสมดุลในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งได้กำหนด 9 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (strategic objectives) ใน 5 มุมมอง และเพื่อให้สามารถวัดความสำเร็จในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าว ในปี 2551 สวทช. ได้กำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Key Strategic Indicators, KS) รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ สวทช. ให้ความสำคัญและนับเป็นเป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal) ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2 ด้าน ได้แก่ 1. จำนวนผลงานที่สำคัญเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมองเห็นและรับรู้ได้ชัดเจน (KS1) โดยพิจารณาจากโครงการสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจหรือสังคมมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทต่อปี จำนวนโครงการทั้งใหม่และต่อเนื่อง ที่เกิดจากการรับจ้างวิจัย, ที่ปรึกษา, สิทธิประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ที่ปรึกษา หรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งมีรายรับอย่างเป็นทางการตามสัญญาตั้งแต่ 300,000 บาทต่อปีหรือต่อสัญญา 2. การสั่งสมและบริหารจัดการความรู้ และทรัพย์สินทางปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประเทศ ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดเป็น จำนวนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (KS2) และจำนวนคำขอยื่นจดสิทธิบัตร (KS3)