รายงานประจำปี 2543 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Titleรายงานประจำปี 2543 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Publication TypeBook
Year of Publication2000
Corporate Authorsสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,
Editionพิมพ์ครั้งที่ 1
Number of Pages68 หน้า
Publisherสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Cityปทุมธานี
ISBN Number9742290377
KeywordsAnnual Report, annual report 2000, Policy and administration, Policy and political science, รายงาน สวทช., รายงานประจำปี, รายงานประจำปี 2543, รายงานผลการดำเนินงาน, รายงานผลการดำเนินงานประจำปี, สวทช., สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Abstract

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 สวทช. ได้ดำเนินงานตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมายใน 4 ด้าน คือ การวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปีนี้ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำข้อเสนอวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยให้ชื่อกิจกรรมนี้ว่า S&T 2020 เพื่อเป็นการระดบความคิดผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดความต้องการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และกำหนดกลยุทธิ์ในการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อการจัดทำวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2543-2563 และสร้างกระบวนการกำหนดแนวทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยให้มองไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ทั้งนี้ ได้มีการนำผลจากการระดมความคิดดังกล่าวเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย

ผลงานด้านการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมนั้น สวทช. ได้มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งให้การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสิ้น 747 โครงการ โดยจำแนกเป็นโครงการใหม่ 275 โครงการ และโครงการต่อเนื่อง 472 โครงการ และได้มีการนำผลงานไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณประโยชน์ รวมถึงมีผลงานในระดับต้นแบบหรือองค์ความรู้ที่พร้อมจะนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งนับว่า สวทช. ได้มีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในภาคการผลิต โดยนอกจากจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่า ทางเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิชาการเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน รวมถึงมีการจัดประชุมเชิงวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้อีกด้วย

ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สวทช. ได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเร่งพัฒนาบคุลากรในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ทั้งในลักษณะการสนับสนุนทุนประเภทต่างๆ ในทุกระดับโดยมีการดำเนินร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีโครงการที่สำคัญที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมาคือโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ซึ่งมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถและยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน มัธยมด้านวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการศึกษาแนวใหม่เพื่อให้เกิดพัฒนาการในลักษณะก้าวกระโดดทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ใช้นั้น สวทช. ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาและนำไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การลดของเสียและต้นทุนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการช่วยยกระดับความสามารถของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กของไทยให้ก้าวไปสู่ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยจากการประเมินผลโครงการบางส่วนที่ สวทช. ได้ให้การสนับสนุนไปแล้ว จำนวน 60 บริษัท พบว่าภาคอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้มาก ทั้งในด้านการลดต้นทุนการผลิต การลดอัตราการสูญเสียในการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต การคิดค้นและการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การปรับปรุงคุณภาพสินค้าและประสิทธิภาพในการจัดการตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่บุคลากรและผู้ประกอบการ รวมไปถึงผลต่อสังคมและประเทศชาติโดยส่วนรวมได้แก่ การเพิ่มปริมาณการส่งออกของสินค้าในประเทศ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและมีการลงทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งมีการประหยัดทรัพยากรของประเทศได้ในระดับหนึ่ง

ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศนั้น สวทช. ได้เสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 2 ฉบับ คือ (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และ (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการได้เสนอให้รวมเป็นฉบับเดียวชื่อว่า (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเมื่อมีการประกาศใช้จะช่วยให้มีความมั่นใจแก่ธุรกิจในการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

ที่กล่าวมาแล้ว เป็นผลงานที่สำคัญบางส่วนของ สวทช. เท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าผลงานที่ดีเหล่านี้ยังมีความจำเป็นที่ต้องเร่งผลักดันให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในภาคการผลิตให้มากขึ้นและทำให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง เพราะในสังคมแห่งความรู้ในอนาคตนั้น ความได้เปรียบในการแข่งขันมิใช่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานราคาถูกอีกต่อไป แต่ต้องใช้ความรู้เป็นฐาน สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวจะผลักดันสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้อย่างเต็มความสามารถ ภายใต้กรอบงบประมาณที่มีอยู่ รวมทั้งพยายามเสาะหาแหล่งเงินอื่นๆ โดยคำนึงอยู่เสมอว่าผลประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับนั้นมีผลคุ้มค่า

Publication language

Tha

Short TitleAnnual Report 2000