อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นอุทยานที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงต่ำ เป็นผืนป่าใหญ่ที่มีป่าไม้หลากหลายชนิด สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นสังคมพืชแบบทุ่งหญ้า จึงเป็นพื้นที่ที่มีช่วงความแห้งแล้งที่ยาวนาน ปริมาณน้ำฝนต่ำ และเกิดไฟป่าทุกปี พรรณไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ต้องทนต่อความแห้งแล้ง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
เอื้องสีตอง (Habenaria chlorina C. S. P. Parish & Rchb. F). เป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่งที่เจริญได้ดีในสภาพพื้นที่แบบทุ่งหญ้า จึงพบว่ามีการแพร่กระจายอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
เอื้องสีตอง สามารถมีชีวิตรอดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ เนื่องจากมีหัวที่ฝังอยู่ใต้ดินทำหน้าที่เก็บน้ำและสะสมอาหาร จึงสามารถขาดน้ำติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน โดยความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับฤดูกาล โดยมีการแบ่งระหว่างช่วงเจริญเติบโตและช่วงการพักตัว ในบางแห่งที่แห้งแล้งยาวนาน ปริมาณน้ำฝนต่ำ และเกิดไฟป่าทุกปี ยังสามารถพบเอื้องสีตองได้
ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม จะเป็นช่วงเวลาที่จะได้ยลโฉมความงามของดอกเอื้องสีตอง โดยสามารถสังเกตกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน และมีช่อดอกยาว 10 – 20 เซนติเมตร มีดอกจำนวนมากเรียงบนแก่นช่อดอก ดอกบานไปสู่ปลายช่อ ดอกมีสีเขียวอ่อนแต้มสีม่วงดำ
ช่อดอกเอื้องสีตอง เอื้องสีตอง