pumi Aromatherapy pillow & mattress for anti-dust mite

pumi Aromatherapy pillow & mattress for anti-dust mite

โครงการวิจัยสมุนไพรไทย เพื่อกำจัดไรฝุ่น โดย BRT ร่วมกับ KMITL โดย ดร.อำมร อินทร์สังข์ และ อ.จรงศักดิ์ พุมนวน นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร ผู้ทำงานวิจัยตัวนี้มากว่า 10 ปี

บริษัท คนดี กรุ๊ป จำกัด ผู้ได้รับสิทธิบัตรในการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้ จึงได้พัฒนาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานกับคนในยุคปัจจุบัน ที่ประสบปัญหาโรคภูมิแพ้ แต่ยังเกรงกลัวกับสารเคมีอันตราย เนื่องจากต้องใช้บนที่นอน สเปรย์ภูม ซึ่งผลิตจากน้ำมันสกัดในสูตรดั้งเดิมแล้ว เรายังได้ปรุงแต่งเพิ่มเติม ด้วยกลิ่นบำบัดจากน้ำมันหอมระเหย จากดอกไม้ และ ใบไม้ นานาชนิด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่นใช้แทนสเปรย์ปรับอากาศ ใช้กำจัดกลิ่นอับ ใช้ทำความสะอาดที่นอน และคุณสมบัติของกลิ่นบำบัด Aromatherapy อีกทางด้วย

การศึกษาดูงานการพัฒนาโรงไฟฟ้าหงสา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)

คลัสเตอร์ทรัพยากรชุมชน ชนบทและผู้ด้อยโอกาส โดยโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชนบท สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)เดินทางศึกษาดูงานการพัฒนาโรงไฟฟ้าหงสา แขวงไชยบุรี สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2555 ระยะทางจากด่านห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ ถึง โรงไฟฟ้าหงสา ประมาณ 35 กิโลเมตร โครงการนี้เป็นการลงทุนใหญ่ที่สุดของไทยใน สปป.ลาว มีมูลค่าถึง 3,710 ล้านดอลลาร์ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงเพื่อศึกษาตัวอย่างผลกระทบขึ้น โดยพบว่าในแง่บวกจะมีการจ้างงานจำนวนมากในพื้นที่ การเตรียมความพร้อมและฝึกทักษะสร้างความสามารถให้นักเรียนและชุมชน ซึ่งต้องประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนในพื้นที่โดยรอบ ให้รู้เท่าทันและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไป

17

การประชุม Inclusive Innovation

โปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชนบทสวทช. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดประชุม Inclusive Innovationเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม2555เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับกลไกในการเผยแพร่เทคโนโลยีออกไปในวงกว้างเพื่อสร้างประโยชน์ต่อคนจำนวนมากอย่างทั่วถึง โดยจะมีความร่วมมือกับ สวทน. จัดทำร่างเกณฑ์การคัดเลือกโครงการ หรือเทคโนโลยีที่มีศักยภาพจะขยายผลเป็น inclusive innovationแล้วพิจารณากำหนดbusiness model ที่จะขยายผลเทคโนโลยีเหล่านั้นเป็น inclusiveinnovation และกำหนดกลไกการผลักดันไปสู่การปฏิบัติจริงต่อไป

16 1

นิทรรศการทรัพยากรชีวภาพ ในงานมหกรรมวิชาการ สกว.

คลัสเตอร์ทรัพยากร ชุมชนชนบท และผู้ด้อยโอกาส โดยโปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ นำผลงานของโครงการ BRT ได้แก่ การแสดงผลงานสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก 20 ชนิด, หิ่งห้อย, ความหลากหลายทางทะเลขนอม และการฟื้นฟูป่า เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานมหกรรมวิชาการสกว.วิจัยตามรอยพระยุคลบาท: สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2555 ระหว่างวันที่21-24 มิถุนายน 2555 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์7-8

15 3

ผลิตภัณฑ์กำจัดคราบน้ำมันจากผลงานร่วมวิจัยได้รับรางวัล Golden Medal ด้านนวัตกรรม "Bioremediation Agent developed to Greenovation product"

ผลิตภัณฑ์กำจัดคราบน้ำมันที่เป็นผลงานร่วมวิจัยระหว่าง บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด และ สวทช. ในโครงการ “ผลิตแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียม เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าสำหรับกำจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ” บริษัทได้นำผลงานวิจัยเข้าร่วมในงานประกวดนวัตกรรมระดับอาเซียน ITEX 2012 ที่ เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 17 - 19 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา และได้รับรางวัลจำนวน 3 รางวัล ด้วยกัน คือ เหรียญทอง 1 รางวัล ด้านนวัตกรรม “Bioremediation Agent developed to Greenovation product” และรางวัลสุดยอดการประดิษฐ์ 2 รางวัล คือ The Best Invention in Biotechnology จากประเทศญี่ปุ่น และ The Best Invention in Environment จากประเทศจีน

N14

การพัฒนาสะพานเส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิง

เส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิง ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี แหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศ “พุ” ระบบนิเวศเฉพาะถิ่น จ.กาญจนบุรี ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ของพืช สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาโครงการ BRT สวทช. ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิงทั้งในด้านสิ่งก่อสร้างและองค์ความรู้ระหว่างเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ปัจจุบันสะพานเส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิงได้ชำรุดทรุดโทรม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา โปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ จึงได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และวางแผนการสนับสนุนสะพานเส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน

N13

ค่ายเยาวชน ขนอมรักษ์บ้านเกิด ครั้งที่ 2

โครงการ BRT โดยโปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดกิจกรรม ค่ายเยาวชน   ขนอมรักษ์บ้านเกิด ครั้งที่ 2 ณ โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2555 โดยเป็นความร่วมมือในการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัย “โครงการหาดขนอมระยะที่สอง” จัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรท้องถิ่น และฐานการเรียนรู้นอกสถานที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความตระหนักและอนุรักษ์ทรัพยากรของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีแทนเยาวชนจาก 21 โรงเรียน จำนวนกว่า 60 คน

N 12

                                    N 12_1

 

 

การประชุม Ecology Advisory Meeting

โปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ สวทช. ได้จัดประชุม Ecology Advisory Meeting ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัย โดยที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับใช้วัดปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ป่าและทะเล การพัฒนาบุคลากรสาขาขาดแคลนด้านนิเวศวิทยา และร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำร่างเอกสารยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านนิเวศวิทยา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของประเทศไทย ซึ่งได้กำหนดให้มีการจัดประชุมร่วมกันทุกๆ 2 เดือน

M11

ผลิตภัณฑ์กำจัดไรฝุ่น ไมท์เฟียร์

ผลิตภัณฑ์กำจัดไรฝุ่น ไมท์เฟียร์ ได้รับเลขทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

จากการสนับสนุนงานวิจัยการควบคุมไรฝุ่น Dermatophagoides pteronyssinus (Trouessart) โดยใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืช โดยโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ภายใต้โปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ คลัสเตอร์ทรัพยากร ชุมชนชนบท และผู้ด้อยโอกาส สวทช. นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาสูตรน้ำมันหอมระเหยที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมไรฝุ่นและได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับ บริษัท  ไทยเฮิร์บเทค จำกัด และ บริษัท คนดี จำกัด ปัจจุบัน บริษัทได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์กำจัดไรฝุ่นภายใต้สัญลักษณ์ทางการค้าต่างๆ เพื่อจัดจำหน่าย และที่ได้รับขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ mitefear อย.เลขที่ 139/2555 ไมท์เคลียร์ 140/2555 ไมท์คลีน 141/2555 และแกรนด์โฮม 142/2555

M10

ผลการทดสอบแบคทีเรีย Bacillus megaterium เพื่อควบคุมโรคในนาข้าวร่วมกับแปลงเกษตรกร

    เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา โปรแกรมทรัพยากรชีวภาพได้มีการจัดประชุมสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus megaterium ที่คัดแยกได้จากดินในนาข้าวและพัฒนาเป็นรูปแบบแกรนูลที่สะดวกในการใช้งาน ละลายน้ำได้ดี เก็บได้นาน 2 ปี โดยนักวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการควบคุมโรคกาบใบแห้ง ใบไหม้ และเมล็ดด่างในแปลงนาทดสอบ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรกรอาสาสมัคร และสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบโดย บริษัท ทีเอฟไอ กรีนไบโอเทค จำกัด ผลการทดสอบพบว่าผลิตภัณฑ์สามารถควบคุมโรคในแปลงนาข้าวทดสอบได้ดีใกล้เคียงกับการใช้สารเคมี และที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าควรให้เกษตรจังหวัดส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อทำนาปลอดสารเคมี และบริษัท ทีเอฟไอ กรีนไบโอเทค มีความสนใจการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรม เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในลำดับต่อไป

M81

การประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการร่วมวิจัยบริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนา อ้อยและน้ำตาล จำกัด

คลัสเตอร์ทรัพยากรชุมชนชนบท และผู้ด้อยโอกาส โดยโปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ ผู้เชี่ยวชาญ ศช. และ บริษัทมิตรผลวิจัยพัฒนา อ้อยและน้ำตาล จำกัด และนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประชุมสรุปผลการดำเนินงานวิจัยการคัดเลือกและศึกษาเชื้อจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนและละลายหินฟอสเฟต เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากในดินและลำต้นของอ้อยมีประสิทธิภาพสูง มีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจุลินทรีย์นี้อย่างยั่งยืน ควรมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ในสภาวะจริงของแปลงเกษตร ให้นำไปประโยชน์ได้ทั้งในภาคธุรกิจและภาคเกษตรกรที่เป็นลูกไร่ของบริษัท ทั้งนี้ โปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัทมิตรผลวิจัย อ้อยและน้ำตาล จะร่วมกันดำเนินงานวิจัยในลำดับต่อไป

M8