านวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ที่เป็นกรณีศึกษาที่คลาสสิคสำหรับความแตกต่างแปรผันของสิ่งมีชีวิต สามารถศึกษาได้จากเปลือกหอยทากบกสวยงามหรือหอยต้นไม้สกุลแอมฟิโดรมัส (Amphidromus) ที่เป็นอัญมณีอันล้ำค่าแห่งป่าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ป่าแหล่งเดียวของโลกที่พบหอยสกุลนี้) อาศัยอยู่บนต้นไม้ตลอดชีวิ

หอยทากสกุลนี้มีลักษณะภายนอกของเปลือกที่มีความหลากหลายของสีสัน การเวียนของเปลือกทั้งซ้ายและขวา แม้เป็นสปีชีส์เดียวกัน ประชากรกลุ่มเดียวกัน ก็เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน จากการเก็บตัวอย่างหอยสกุลนี้สะสมมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทีมวิจัยโดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้เห็นความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาของเปลือกที่น่าอัศจรรย์

 

ในภาพจะเห็นความแตกต่างแปรผันของสีและการเวียนของเปลือกหอยทากสวยงาม มีทั้งเปลือกเวียนไปทางซ้ายและเปลือกเวียนไปทางขวา (ให้ดูที่ปากของเปลือกหอยที่เปิดคนละด้านกัน) มีสีที่แตกต่างกันทั้งเหลือ สีเหลืองเขียว สีน้ำตาลออกเปลวไฟ และยังมีสีขาวอีกด้วย นอกจากนั้นทรงของเปลือกก็ยังแตกต่างกัน

ข้อมูล/ภาพ โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาิวิทยาลัย