ชื่อวิทยาศาสตร์  Begonia pteridiformis Phutthai

วงศ์ Begoniaceae..

ชื่อสามัญ -

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ คำ Pteridiformis   อ่านว่า เทอริดิฟอมิส  เป็นชื่อ specific epithet  ที่มาจากคำสองคำ pteridi- หรือ pterido- หมายถึงเฟิร์น formis- หมายถึง รูปร่าง ดังนั้นชื่อ specific epithet ของพืชชนิดนี้ จึงหมายความว่า รูปร่างเหมือนเฟิร์น

แหล่งที่พบครั้งแรก น้ำตกมโนราห์ จ.พังงา

ตัวอย่างต้นแบบ Holotype เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช ( Bangkok Forest Herbarium (BKF)) Isotype เก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Prince of Songkla University Herbarium (PSU))

สถานภาพ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากแหล่งอาศัยที่เป็นเทือกเขาหินปูนถูกทำลายทำให้แหล่งอาศัยเปลี่ยนแปลงไป


การแพร่กระจาย พบในกลุ่มของภูเขาหินปูนที่อยู่ใน จ.พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี และ สตูล

แหล่งอาศัย ขึ้นบนหินปูนที่มีความชื้นสูงริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น รอบๆภูเขาหินปูน โดยมีหัวสะสมอาหารฝังอยู่ในซอกหิน พบเฉพาะในหน้าฝนและจะยุบเหลือแต่หัวสะสมอาหารเฉพาะในหน้าแล้ง

บันทึกการค้นพบ ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งทำการศึกษาวิจัยพรรณไม้วงศ์ส้มกุ้งของประเทศไทย ได้สำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้วงศ์ส้มกุ้งทั่วประเทศ และได้สำรวจพบส้มกุ้งใบเฟิร์นเฉพาะที่ภาคใต้ของประเทศไทย และพบว่าเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย และ พืชชนิดใหม่ของโลก จากการตรวจพรรณไม้วงศ์ส้มกุ้งในแถบประเทศเพื่อนบ้านที่หอพรรณไม้หลายแห่งทั้งในและนอกประเทศเพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลให้แน่นอน

แหล่งทุน โครงการ BRT

รายงานที่ตีพิมพ์
Phutthai, T. And  Sridith, K. 2010. Begonia pteridiformis Phutthai, a new species from Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) Vol. 38, 37-41.

2