ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea

วงศ์ :  Paradoxosomatidae

ชื่อสามัญ :  pink dradon millipede

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : purpurosea เป็นภาษาลาติน แปลว่า สีชมพูม่วง

แหล่งที่พบครั้งแรก : อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

ตัวอย่างต้นแบบ :  Holotype และ Paratype เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานภาพ : -

การแพร่กระจาย : อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

แหล่งอาศัย : ตามเขาหินปูนบริเวณที่มีความชื้น

บันทึกการค้นพบ : นายเรืองฤทธิ์ พรมดำ นักศึกษาในโครงการ BRT ได้เป็นผู้ค้นพบกิ้งกือมังกรสีชมพู และได้แจ้ง ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ทำการเก็บตัวอย่าง และพบว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก  ในปี 2551 กิ้งกือชนิดนี้ติดอันดับหนึ่งในสิบสุดยอดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่จัดอันดับไว้โดยสถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) สหรัฐฯ ประกาศให้กิ้งกือมังกรสีชมพูเป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับที่ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาและการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ด อายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐฯ ซึ่งได้อันดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ การค้นพบกิ้งกือมังกรสีชมพูติดอันดับโลกจะสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ ให้กับประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสามารถ ประเทศไทยยังมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์อยู่อีกมาก

แหล่งทุน : โครงการ BRT

17