ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณีเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักธรณีวิทยา 8 สำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ทธ. และคณะ ได้เข้าศึกษาซากดึกดำบรรพ์บริเวณเหมืองถ่านหินแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบซากดึกดำบรรพ์ไพรเมต หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีพัฒนาการสูงสุดชนิดใหม่ของโลก อายุ 13 ล้านปี ชื่อ สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส จัดอยู่ในกลุ่มไพรเมตจมูกเปียก หรือไพรเมตชั้นต่ำ ขนาดเพียง 15 เซนติเมตร น้ำหนัก 500 กรัมเท่านั้น

 

ดร.เยาวลักษณ์ กล่าวว่า ตนและคณะได้ทำโครงการร่วมสำรวจศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไทย-ฝรั่งเศส ได้พบกับชิ้นส่วนกรามล่างพร้อมฟัน จำนวน 4 กราม ของสยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส เมื่อปี 2547 จากการศึกษาเปรียบเทียบกับไพรเมตจมูกเปียกของ จีน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า มั่นใจว่าสยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส เป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นครั้งแรกที่พบในประเทศไทย โดยสยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส ที่พบนี้ถือเป็นต้นตระกูลของลิงลีเมอร์ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เกาะมาดากัสการ์
 

 

ข้อมูลจาก:

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lif05260251&day=2008-02-26 ionid=0132
 

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_newsonline.php?newsid=TVRJd016a3pORGt5TlE9PQ==