แตนเบียนสาวกวิจัยบีอาร์ทีศึกษาปัจจัยการแพร่พันธุ์ "แตนเบียน" เพศเมีย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงวันผลไม้ เผยเคล็ดลับการเพิ่มจำนวนตัวอ่อนแตนเบียนเพศเมีย ต้องให้ตัวผู้มีการสื่อสารทางเสียงและกลิ่นมากขึ้น เพื่อให้ไข่ของแตนเบียนได้รับการผสม

              ปัจจุบันผลไม้ของไทย เช่น  มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ และยังเป็นผลไม้ที่คนไทยหลายๆ คนชอบรับประทาน และด้วยกระแสความนิยมการรับประทานผักผลไม้ปลอดสารเคมี การปลูกพืช ผัก ผลไม้จึงมีการใช้หลักการชีววิถีเพิ่มขึ้น โดยการใช้แมลงที่เป็นประโยชน์กำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในแมลงที่เป็นประโยชน์ที่คอยทำหน้ากำจัดแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับสวนผลไม้ คือ แตนเบียน

              

แตนเบียนเพศเมียแตนเบียนเพศผู้

ตนเบียนเพศเมีย                           แตนเบียนเพศผู้ 

 

        รศ.ดร.สังวรณ์ กิจทวี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยผู้ศึกษาพฤติกรรมของแตนเบียน กล่าวว่า แตนเบียนจัดเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง ต่อ แตน ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตของแตนเบียนชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายต่อคน แต่กลับเป็นเพชรฆาตที่ร้ายกาจของแมลงศัตรูพืช ด้วยพฤติกรรมการวางไข่ไว้ในแมลงศัตรูพืช และใช้น้ำเลี้ยงภายในตัวแมลงเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโต และทำให้แมลงศัตรูพืชตายในที่สุด ทั้งนี้แตนเบียนในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูต่างชนิดกัน

ปลายอวัยวะวางไข่        "แตนเบียนที่ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืช คือ แตนเบียนเพศเมีย โดยอาวุธที่ร้ายกาจ คืออวัยวะวางไข่เรียวยาว ปลายแหลม คล้ายฉมวกขนาดจิ๋ว สำหรับแทงและวางไข่ในตัวหนอนแมลงวันผลไม้ ทั้งนี้แตนเบียนเพศเมียสามารถค้นหาเป้าหมายในการวางไข่ได้จากการรับกลิ่นสารเคมีที่ผลิตจากปฏิกิริยาการการสุกเน่าของผลไม้ และเสียงสั่นจากการเคลื่อนไหวของแมลงศัตรูพืช โดยแตนเบียนแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตประมาณ 100 ฟอง จึงสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เป็นจำนวนมาก และเนื่องจากแตนเบียนเป็นแมลงที่มีความพิเศษคือมีไข่ที่สามารถฟักเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องรับการผสมจากตัวผู้ ซึ่งไข่ที่ไม่ได้รับการผสมนี้จะให้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศผู้ ในขณะที่ไข่ที่ได้รับการผสมจะได้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศเมีย ดังนั้นปัญหาที่พบคือ จำนวนตัวอ่อนที่เกิดขึ้นเป็นเพศผู้เสียส่วนใหญ่ เนื่องจากแตนเบียนเพศเมียจะมุ่งเน้นการวางไข่มากกว่าการผสมพันธุ์กับเพศผู้"

        ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.สังวรณ์ จึงได้ทำการศึกษาการเพิ่มปริมาณแตนเบียนเพศเมีย โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (BIOTEC) และได้เลือกศึกษาแตนเบียนสายพันธุ์ Diachasmimorpha longicaudata (Ashmead) ซึ่งจะวางไข่เฉพาะในแมลงวันผลไม้

แมลงวันผลไม้        รศ.ดร.สังวรณ์ กล่าวว่า การใช้แตนเบียนในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการเพาะเลี้ยงให้ได้แตนเบียนที่มีเพศเมียมากกว่าเพศผู้ เพื่อให้สามารถควบคุมแมลงได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีการควบคุมระบบสืบพันธุ์ให้ไข่ได้รับการผสม หรือได้รับการปฏิสนธิ (fertilized egg) ต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างเพศผู้และเพศเมีย การสื่อสารดังกล่าว ได้แก่ การสื่อสารด้วยเสียง (การขยับปีกของเพศผู้) และกลิ่น (pheromone) ซึ่งมีผลให้เพศเมียยอมรับการผสมพันธุ์ เพิ่มโอกาสให้ตัวอสุจิผสมกับไข่ได้มากยิ่งขึ้น  แตนเบียนเพศเมียจะเลือกวางไข่ที่ได้รับการผสมลงในตัวอ่อนแมลงวันผลไม้ที่มีขนาดใหญ่หรือสมบูรณ์ และมักจะเลือกวางไข่ที่ไม่ได้รับการผสมในแมลงวันผลไม้ขนาดเล็ก ดังนั้นไข่ที่ได้รับการผสมนอกจากจะผลิตตัวอ่อนเพศเมียที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันผลไม้ในรุ่นต่อไปแล้ว ยังสามารถกำจัดแมลงวันผลไม้ที่มีความสมบูรณ์และมีความสามารถในการทำลายผลไม้ได้มากได้ดีกว่าอีกด้วย

        นักวิจัยผู้ศึกษาพฤติกรรมของแตนเบียน กล่าวว่า แตนเบียนจัดเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง ต่อ แตน ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตของแตนเบียนชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายต่อคน แต่กลับเป็นเพชรฆาตที่ร้ายกาจของแมลงศัตรูพืช ด้วยพฤติกรรมการวางไข่ไว้ในแมลงศัตรูพืช และใช้น้ำเลี้ยงภายในตัวแมลงเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโต และทำให้แมลงศัตรูพืชตายในที่สุด ทั้งนี้แตนเบียนในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูต่างชนิดกัน