ชิปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดเอกลักษณ์ของสารเคมีด้วยเทคนิค Raman Spectroscopy ให้สามารถวัดสัญญาณของสารอินทรีย์และอนินทรีย์ในปริมาณน้อยระดับ trace concentration ได้
whatSERS ได้รับการวิจัยและพัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคการเคลือบฟิล์มขั้นสูง ทำให้ได้ฟิล์มบางโครงสร้างนาโนของโลหะเงินที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว สามารถขยายสัญญาณรามานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าอัตราการขยายสัญญาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่มีขายในท้องตลาดกว่า 100 เท่า ในขณะที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าพื้นผิวขยายสัญญาณ สัญญาณประกอบด้วยชิป สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการตรวจวัดสารตัวอย่างที่มีความเจือจางมากในระดับ trace concentration ซึ่งไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยเทคนิคการตรวจวัดสัญญาณรามานแบบปกติ
ปัจจุบัน whatSERS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น การตรวจพิสูจน์สารตกค้างทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง การตรวจพิสูจน์เชิงนิติวิทยาศาสตร์ เช่น สารเสพติด สารระเบิด สารหมึกปากกา และการตรวจพิสูจน์ทางการแพทย์ เช่น สารชีวโมเลกุล เป็นต้น
กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับการแพทย์ เภสัชกรรม การตรวจพิสูจน์หลักฐาน นิติวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง การเกษตร และการวิจัย
1. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “แผ่นรองรับชนิดพื้นผิวขยายสัญญาณรามาน และกรรมวิธีการเตรียมแผ่นรองรับชนิดพื้นผิวขยายสัญญาณรามาน” เลขที่คำขอ 1001000190 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
2. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “วิธีการตรวจหาสารระเบิดทางเคมีเชิงแสงด้วยแผ่นรองรับชนิดพื้นผิวขยายสัญญาณ รามาน (Raman) แบบแท่งเงินนาโน” เลขที่คำขอ 1201001692 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2555
3. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “วิธีการบำบัดพื้นผิวขยายสัญญาณรามานที่เสื่อมประสิทธิภาพจากการเก็บรักษา ให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงเดิมด้วยการใช้ไอออนของก๊าซ” เลขที่คำขอ 1201002682 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2555
4. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “วิธีการตรวจสอบการปลอมแปลงหมึกพิมพ์ธนบัตรด้วยเม็ดโลหะเงินนาโนขยายสัญญาณรามาน” เลขที่คำขอ 1301005400 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2556
5. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “ไบโอเซนเซอร์เชิงแสงแบบพื้นผิวขยายสัญญาณรามานสำหรับตรวจหาไกลโคโปรตีนชนิด NS1 จากเชื้อไวรัสเดงกี่ และกรรมวิธีการตรวจหาไกลโคโปรตีนชนิด NS1 ด้วยไบโอเซนเซอร์เชิงแสงดังกล่าว” เลขที่คำขอ 1301005227 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2556
6. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “กระบวนการการเพิ่มอายุการใช้งานของแผ่นรองรับขยายสัญญาณรามานชนิดโลหะเงิน” เลขที่คำขอ 1501003965 เมื่อเดือนกันยายน 2558
7. ยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “กระบวนการสร้างโลหะเงินซึ่งมีโครงสร้างแบบแท่งตั้งตรงบนแผ่นรองรับขยายสัญญาณรามาน” เลขที่คำขอ 1501003964 เมื่อเดือนกันยายน 2558
8. ยื่นจดอนุสิทธิบัตรเรื่อง “กระบวนการตรวจหาอนุพันธ์ของแอมเฟตามีนในปัสสาวะด้วยเทคนิคการกระเจิงแสงแบบรามาน” เลขที่คำขอ 1503001194 เมื่อเดือนกันยายน 2558
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2356 Email: business@nectec.or.th