หัวข้อสัมมนาวิชาการ
|
|
โอกาสและความท้าทายด้านสุขภาพสัตว์ในยุคเกษตรสมัยใหม่
Opportunities and Challenges in the New Era of Animal Health Research and Development
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม CC405 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
|
ปัจจุบันการเกษตรของประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคเกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำนวัตกรรม การวิจัย และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับต่างประเทศ อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โรคระบาดในสัตว์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องป้องกันและควบคุมอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาดังกล่าว จะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจวินิจฉัย จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เช่น สุกร โค กระบือ และสัตว์ปีก |
|
การวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสัตว์ในยุคเกษตรสมัยใหม่ จึงมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมการผลิตวัคซีนและชุดตรวจวินิจฉัย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยการนำนวัตกรรม การวิจัย และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ การพัฒนาวัคซีนจากพืช เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ที่ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ การออกแบบวัคซีนจากฐานข้อมูลเชื้อไวรัส การพัฒนาระบบนำส่งวัคซีน รวมทั้งนวัตกรรมการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยที่ง่าย สะดวก และสามารถใช้ได้จริงในฟาร์ม โดยเกษตรกรสามารถใช้ชุดตรวจวินิจฉัย และวัคซีนที่ผลิตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ลดต้นทุนการผลิตทางปศุสัตว์ ลดภาวะการเกิดโรคระบาดและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ ลดการสูญเสียจากการเป็นโรค ตลอดจนเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ |
|
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการสัมมนา |
|
|
|
กำหนดการ |
09.00 – 09.30 น. |
ถอดบทเรียนจากวัคซีนสัตว์แบบดั้งเดิมสู่วัคซีนในยุคเกษตรสมัยใหม่
โดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีแอนติบอดี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
09.30 – 10.00 น. |
นวัตกรรมการใช้พืชเป็นวัคซีนอาหารสัตว์
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
10.00 – 10.30 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.30 – 11.00 น. |
ระบบนำส่งวัคซีนในรูปแบบนาโน
โดย ดร.ณัฎฐวี เนียมศิริ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร |
11.00 – 11.30 น. |
นวัตกรรมการออกแบบวัคซีนจากฐานข้อมูลไวรัสมหภาพของประเทศ
โดย ดร.นันท์ชญา วรรณเสน
นักวิจัย หน่วยวิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีแอนติบอดี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
11.30 – 12.00 น. |
นวัตกรรมชุดตรวจวินิจฉัยแบบพกพา
โดย ดร.วรางคณา สงสังข์ทอง
นักวิจัย หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
|
|
|