NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - 4. กลุ่ม-อุตสาหกรรมฐานเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ



4. กลุ่ม-อุตสาหกรรมฐานเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

A4 ,D4-อุตสาหกรรมฐานเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ : ผลงานวิจัยของห้องทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุ (Biodegradation Testing) / ผลงานวิจัย Pack Batteryห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี/ผลงานวิจัย Biofuel ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน / ผลงานวิจัยพลังงานลมห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน/ โซนกิจกรรมพิเศษ Innovation Solution

B4-อุตสาหกรรมฐานเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ :ผลงานวิจัย Pack Batteryห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี / ผลงานวิจัย Biofuel ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน / ผลงานวิจัยพลังงานลมห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน/ โซนกิจกรรมพิเศษ Innovation Solution

C4-อุตสาหกรรมฐานเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ :ห้องปฏิบัติการจัดการเทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาการข้อมูล (TBRC)/ ห้องปฏิบัติการพลังงานเคมีและชีวภาพ (IBL) /MitrPhol Innovation & Research Center / โซนกิจกรรมพิเศษ Innovation Solution

 

ผลงานวิจัยของห้องทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุ

งานทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุได้รับการรับรองความสามารถ ISO 17025 จากสถาบัน DIN CERTCO ประเทศเยอรมนี ครอบคลุมขอบข่ายการทดสอบการย่อยสลายของวัสดุมากที่สุดในเอเชีย ซึ่งรายงานผลของงานทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากดำเนินงานทดสอบให้กับลูกค้าแล้ว ยังให้คำปรึกษา และข้อแนะนำในการผลิต รวมถึงเตรียมเอกสารสำคัญส่งตรงให้ถึงหน่วยรับรอง (Certified body) เพื่อสร้างความเข้าใจ ลดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน

 

ผลงานวิจัย Pack Batteryห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี

วิจัยพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบ และให้คำปรึกษา ด้านวัสดุ การออกแบบอุปกรณ์ ระบบควบคุม ระบบวัด ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและกักเก็บพลังงานด้วยกระบวนการเคมีไฟฟ้า เช่น  แบตเตอรี่และตัวเก็บประจุยิ่งยวด(supercapacitor) สำหรับการใช้งานด้านยานยนต์ไฟฟ้า ระบบสำรองไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงานสำหรับโครงข่ายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ตัวอย่างงานวิจัยด้านอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน แบตเตอรี่ตะกั่วกรด และตัวเก็บประจุยิ่งยวด

ผลงานวิจัย Biofuel ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน

วิจัยและพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น พลังงานชีวภาพ พลังงานจากชีวมวล พลังงานลม  ศึกษาพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทดสอบศึกษาผลกระทบของเชื้อเพลิงชีวภาพต่อสมรรถนะ ประสิทธิภาพ กำลัง/แรงบิด อัตราการสิ้นเปลือง การเผาไหม้ มลพิษไอเสียของเครื่องยนต์ ตลอดจนความเข้ากันได้ของวัสดุกับเชื้อเพลิง ,วิจัยและพัฒนาแบบจำลองการใช้พลังงานในภาคขนส่ง เพื่อประเมินผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง,วิจัยและพัฒนาด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและสารดูดซับสำหรับกระบวนการทางพลังงานเคมีชีวภาพ และปิโตรเคมี

งานวิจัยด้านพลังงานชีวมวล ดำเนินการศึกษาการใช้ชีวมวลจากพืชผลทางเกษตรที่เหลือใช้หรือของเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงและพลังงาน รวมทั้งเทคโนโลยีสำหรับพลังงานชีวมวล เพื่อช่วยส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานในอนาคตของประเทศ

 

ผลงานวิจัยพลังงานลมห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน

งานวิจัยด้านพลังงานลมดำเนินการศึกษาเทคโนโลยีกังหันลมแบบต่างๆ โดยเน้นไปที่การพัฒนาสมรรถนะของกังหันลมที่ความเร็วลมต่ำ ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการศึกษาการไหลของอากาศ ผ่านใบพัด และ การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับใบพัด และโครงสร้างของกังหันลม เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนากังหันลมต้นแบบ

 

ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย TBRC

มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพในด้านต่างๆ อาทิ การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและการแพทย์ การควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี และ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการผลิตเอนไซม์และสารมูลค่าสูงสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีแบบสหสาขาวิชาในการใช้ประโยชน์จากชีวมวลทางการเกษตรเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และสารเคมีในอุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สำหรับอุตสาหกรรมการควบคุมแมลงศัตรูพืชแบบชีววิธี

 

ห้องปฎิบัติการพลังงานเคมีและชีวภาพ (IBL)

ป็นห้องปฏิบัติการที่รวมศักยภาพความเชี่ยวชาญของนักวิจัยในสาขาต่างๆ ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบคลุมเทคโนโลยีทางด้าน bio-process และ thermocatalysis process ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม biorefineryประกอบด้วย การพัฒนากระบวนการทางเคมีความร้อน (thermochemical process) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst design) การออกแบบระบบและกระบวนการทางวิศวกรรมเคมี (process design) และการค้นหาและพัฒนาเอนไซม์จากแหล่งจุลินทรีย์ในประเทศและเมตาจีโนมเพื่อการย่อยชีวมวลเป้าหมาย การพัฒนาจุลินทรีย์และกระบวนการหมัก รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิต  โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและสารเคมีประเภทต่างๆ จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีในประเทศ สร้างองค์ความรู้ทางด้าน biorefineryและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้สู่งานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

 

บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนา อ้อยและน้ำตาล จำกัด

ขีดความสามารถห้องปฏิบัติการ :เป็นศูนย์ปฏิบัติงานวิจัย และพัฒนาทางด้านน้ำตาล และผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งงานวิจัยของบริษัทจะอยู่ในขอบข่ายทางด้าน  CANE / CROP PRODUCTION , IISB นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, SUGAR TECHNOLOGY & SPECIALTY  และ  BIO-BASED CHEMICALS & ENERGY  ซึ่งการนำเทคโนโลยีไปใช้สำหรับอุตสาหกรรมเป็นการพัฒนาทั้งด้านอุตสาหกรรมน้ำตาล, พันธุ์อ้อย, อุตสาหกรรมชีวพลังงาน และพลาสติกชีวภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อย การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรม