NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - CanSat Thailand ดาวเทียมจิ๋ว ฝีมือเด็กไทย

CanSat Thailand ดาวเทียมจิ๋ว ฝีมือเด็กไทย

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2561 เวลา 13:30 – 15:30 น.
ห้อง CC-308 อาคาร14 (อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

________________________________________________________________________________________________________________

 

       เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยในด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) และเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่กำลังทวีความสำคัญมากขึ้น และมีการแข่งขันที่สูงขึ้นของนานาประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหน่วยงานภายใต้สังกัด 3 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) จึงได้ร่วมกับศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ UNISEC Thailand  จัดกิจกรรมการแข่งขันสร้างดาวเทียมกระป๋อง “CanSat Thailand 2017” ครั้งแรกในประเทศไทย ระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560 ณ สนามบินโคกกระเทียม กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี มีนักเรียนที่ผ่านคัดเลือกจำนวน 11 ทีม เข้าร่วมการแข่งขัน

       การพัฒนาดาวเทียมกระป๋อง แม้จะเป็นเพียงดาวเทียมจิ๋ว และไม่ได้ถูกส่งขึ้นไปสู่วงโคจรรอบโลกจริงๆ แต่นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของเยาวชนไทยในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งอาจจะเป็นใบเบิกทางที่จะช่วยสร้างเทคโนโลยีอวกาศของคนไทยให้เป็นจริงได้ในวันข้างหน้า มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะผู้จัดงานและเยาวชนที่ชนะเลิศจากการแข่งขัน ภายใต้การสัมมนาหัวข้อ “CanSat Thailand ดาวเทียมจิ๋ว ฝีมือเด็กไทย”

 

กำหนดการ
13:30 – 13:45 น.

กล่าวเปิดงาน
คุณกุลประภา  นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

13:45 – 14:00 น.

สวทช. กับการส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ
ดร.นำชัย  ชีววิวรรธน์
ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สวทช.

 

14:00 – 14:30 น.

 โครงการ CanSat Thailand 2017 จุดประกายสะเต็มศึกษา
คุณกรรณิการ์ เฉิน
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

14:30 – 15:00 น.

การพัฒนา CanSat และจรวดนำส่ง
น.อ.ฐากูร เกิดแก้ว
ผู้อำนวยการ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA)    

15:00 – 15:30 น.

เปิดประสบการณ์เยาวชน โครงการ CanSat Thailand 2017
   - โรงเรียนกำเนิดวิทย์
   - โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน
   - โรงเรียนโยธินบูรณะ
   - โรงเรียนจิตรลดา

15:30 – 16:00 น.

เส้นทางการพัฒนาดาวเทียมฝีมือคนไทย จาก CanSat สู่ CubeSat
ดร.พงศธร สายสุจริต
อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

*** รับฟรี! คู่มือการสร้าง CanSat เบื้องต้น สำหรับผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาทุกท่าน