การจัดการทรัพยากรท้องถิ่น สู่การท่องเที่ยวสีเขียว
(Bioresources Management to Green Tourism)
วันที่ 12 มีนาคม 2561 เวลา 13:30 – 16:00 น.
ห้องประชุม CC-305 อาคาร 14 (ศูนย์ประชุม CC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
____________________________________________________________________________________________________________________________
ประเทศไทย ถูกจัดอันดับให้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก แต่ละพื้นที่ แต่ละท้องถิ่น มักมีความโดดเด่นของทรัพยากรชีวภาพที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่และดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยว คือ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวให้คงอยู่ การบริการท่องเที่ยวในเรื่องของข้อมูลวิชาการ ความรู้ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องการตลาดและประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายชุมชน เหล่านี้สามารถส่งเสริมพื้นที่ให้มีศักยภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในรูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนได้
กำหนดการ |
|
13:00 – 13:30 น. |
ลงทะเบียน |
13:30 – 13:40 น. |
กล่าวเปิดงาน นางรังสิมา ตัณฑเลขา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
13:40 – 14:10 น. |
การบริหารจัดการข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์ นายทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช |
14:10 – 14:40 น. |
บทบาทพื้นที่อนุรักษ์ต่อการสร้างเครือข่ายชุมชนรักษ์นกยูงไทย นายกฤตภาส ขันทะธงสกุลดี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา |
14:40 – 15:10 น. |
อุทยานธรณีสตูล มุ่งสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีสตูล |
15:10 – 15:40 น. |
การจัดการทรัพยากรท้องถิ่นวิถีชุมชน สู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่อ่าวท้องตมใหญ่ ว่าที่พันตรีวัชรินทร์ แสวงการ นักวิชาการชุมชน ศูนย์ดำน้ำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลท้องตมใหญ่ |
15:40 – 16:00 น. |
สรุป และกล่าวปิดการประชุม |