เทคโนโลยีพร้อมใช้เพื่ออุตสาหกรรมยาง
(Ready to use Technology for Rubber Industry)
วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09:30 – 11:30 น.
ห้องประชุม CC-301 อาคาร 14 (ศูนย์ประชุม CC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
________________________________________________________________________________________________________________
ประเทศไทยในฐานผู้ผลิตยางธรรมชาติรายหลักในตลาดยางพาราโลกที่มีส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณ 34% แต่จากการคาดการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญของธนาคารไทยพาณิชย์ว่ากลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราของกลุ่มประเทศ CLMV ในช่วงปี 2006-2018 จะทำให้ผลผลิตยางพาราในกลุ่มประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2013-2025 และจะดึงสัดส่วนตลาดจากไทยไปได้ด้วยต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า ในขณะเดียวกันนี้ประเทศไทยเริ่มมียางพาราที่ออกจากพื้นที่ปลูกใหม่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ออกมาเรื่อยๆ แต่ยังประสบกับปัญหาเรื่องการรวบรวมผลผลิตน้ำยางสด การรักษาสภาพน้ำยางเพื่อการขนส่ง การควบคุมคุณภาพน้ำยางที่ได้ และการรักษาสภาพต้นยางพาราที่ผ่านการกรีดน้ำยางแล้ว ทำอย่างไรประเทศไทยจึงจะพัฒนาต้นทุนและคุณภาพการผลิตน้ำยางให้หนีจากสถานการณ์นี้ได้
ในช่วงปี 2560 รัฐบาลไทยได้พยายามผลักดันอุตสาหกรรมยางผ่านโครงการต่างๆ เช่น การใช้ยางทำถนน และมีมาตรการในการแก้ปัญหาราคายาง ซึ่งรวมถึงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพในการผลิตน้ำยางด้วย โดย สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของการผลิตยางธรรมชาติ โดยปีนี้มีผลงานวิจัยที่พร้อมใช้เข้าร่วมนำเสนอ 2 เรื่อง คือ
- สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น(สาร ThEPS) เพื่อรักษาคุณภาพน้ำยางสดให้เก็บรักษาได้นานถึง 3 วัน สามารถใช้ทดแทนแอมโมเนีย หรือ โซเดียมซัลไฟต์ (ยากันกรอก) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยางแผ่นที่ผลิตได้จากน้ำยางสดนี้จะไม่มีปัญหาฟองอากาศในแผ่นยาง และไม่มีกลิ่นฉุนหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
- น้ำยาทาหน้ายาง นาโน รับเบอร์ ทรีแคร์ สูตร ฟอร์มูล่า3 (NANO Rubber tree care-3) จากเนคเทค สวทช. เพื่อทาบนรอยกรีดต้นยาง ช่วยป้องกันเชื้อราที่เกิดกับต้นยางพารา และโรคยางตายนึ่ง เร่งให้เนื้อไม้งอกเร็ว และผิวหน้ายางใหม่เรียบสม่ำเสมอ
กำหนดการ |
|
09:30 – 10:00 น. |
สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น(สาร ThEPS) คุณ ฉวีวรรณ คงแก้ว นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
10:00 – 10:15 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10:15 – 10:45 น. |
น้ำยาทาหน้ายาง นาโน รับเบอร์ ทรีแคร์ สูตร ฟอร์มูล่า3 (NANO Rubber tree care-3) ดร. ศุภนิจ พรธีระภัทร นักวิจัย หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
10:30 – 10:45 น. |
มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร และปิดการสัมมนา |