โครงข่ายอัจฉริยะ เมืองแม่ฮ่องสอน : กฟผ.-จุฬาฯ-สวทช.
(Smart Grid Muang Maehongson : EGAT – CU – NSTDA)
วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 – 11:30 น.
ห้องประชุม CC-305 อาคาร 14 (ศูนย์ประชุม CC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
_______________________________________________________________________________
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การใช้งานจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นทุกวัน แต่ด้วยข้อจำกัดของแหล่งพลังงาน ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองตอบการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ยิ่งมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้เพิ่มมากขึ้น จะต้องมีการบริหารจัดการให้มีเสถียรภาพในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าตามไปด้วย กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่งเสริมการจัดทำโครงการ SMART GRID นำร่องในวงเงิน 720 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความเชื่อถือได้ในระบบไฟฟ้าต่ำสุดในประเทศไทย โดยจะมีการพัฒนาระบบสื่อสาร การพยากรณ์ การเพิ่มคุณภาพและความเชื่อถือได้ โดยเน้นรองรับและพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ระบบกักเก็บพลังงาน ระบบบริหารจัดการพลังงาน มีเป้าหมายเป็นทั้งการสร้างเมืองต้นแบบที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า รองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเป็นต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียว การจัดการโครงข่ายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพนั้นจะก่อให้เกิดเป็นโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid เพื่อรองรับการเป็น Energy 4.0 ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน
กำหนดการ |
|
09:00 – 11.30 น. |
การเสวนาเรื่อง “โครงข่ายอัจฉริยะ เมืองแม่ฮ่องสอน : กฟผ.-จุฬาฯ-สวทช” - นายสวภพ ตรรกพงศ์ < < Presentation > > หัวหน้าแผนกวางแผนระบบโครงข่ายอัจฉริยะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) - ผศ.ดร. สมบูรณ์ แสงวงศ์วาณิชย์ และคณะที่ปรึกษาโครงการฯ < < Presentation > > ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร. จิราวรรณ มงคลธนทรรศ < < Presentation > > นักวิจัย หน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ดำเนินการเสวนา ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน |