เรียนรู้ร่วมกันผลักดันศักยภาพอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทย
(Coordination and Collaboration to increase Thai Competitiveness in Aquaculture )
วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 – 16:30 น.
ห้องประชุม SSH-Auditorium อาคาร 18 (อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
_________________________________________________________________________________________________________________________
อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture) เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศผู้ผลิตและมีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารโลก ผลิตภัณฑ์โดยรวมจากพืชและสัตว์น้ำเกือบร้อยละ 90 มาจากประเทศในทวีปเอเซีย ประเทศไทยจัดอยู่ในช่วง 10 อันดับแรกของประเทศผู้นำการผลิตของโลก โดยในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีผลผลิตจากการประมงและการเพาะเลี้ยงประมาณ 2.65 ล้านตัน เป็นมูลค่า 111,343 ล้านบาทหรือเท่ากับ 9.28% ของ GDP ภาคเกษตร หรือ 0.78% ของ GDP รวมของประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ปัจจุบันมีความท้าทายเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศในหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มปริมาณผลผลิตของประเทศผู้ผลิตกุ้งอื่น เช่น เวียดนามและอินเดีย ทำให้เกิดการรุกสู่ตลาดที่ประเทศไทยครองอยู่ การที่ประเทศคู่ค้าของไทยมีการกำหนดมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า รวมไปถึงกระแสโลกที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น ความท้าทายเหล่านี้ทำให้เกิดการวางแผนและกำหนดทิศทางในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมของประเทศอย่างเข้มแข็ง ทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง การบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเกษตรกร/อุตสาหกรรม และภาควิชาการ/นักวิจัยเพื่อผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมร่วมกัน มีการเตรียมความพร้อมและมีการทำงานเชิงรุก มีการวางแผนการพัฒนาในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และกำหนดทิศทางในอนาคตร่วมกันจึงมีความสำคัญมาก
งานประชุมนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวทางการทำงานของภาคนโยบายของประเทศโดยกรมประมง ภาคเกษตรกรและอุตสาหกรรม และภาควิจัยและพัฒนาโดยสวทช. ที่ได้ตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย และนำมารวบรวมเชื่อมโยงกันเพื่อนำไปสู่การสร้างกลไกความร่วมมือ สนับสนุนและประสานงานเพื่อให้เกิดการทำงานเชิงรุกในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนต่อไป
กำหนดการ
ภาคเช้า: การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของประเทศ
เวลา |
หน่วยงาน |
การนำเสนอ |
09:00 -09:10 น. |
สวทช. |
กล่าวต้อนรับและเปิดงาน ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง |
09:10 – 09:40 น.
|
กรมประมง |
ก้าวสู่ประมงยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี - การสร้างความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันในเวทีโลก โดย ดร. พุทธ ส่องแสงจินดา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง |
09:40 – 10:00 น. |
สวทช. |
- การวิจัยและพัฒนาระบบหมุนเวียนน้ำไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ โดย ดร. สรวิศ เผ่าทองศุข ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
10:00 – 10:20 น. |
- เครือข่ายงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ โดย ดร. กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ ห้องปฏิบัติการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกุ้งและเชื้อก่อโรค ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
|
10:30 – 10:50 น.
|
ภาคเกษตรกร/อุตสาหกรรม |
R&D ในมุมมองของผู้ประกอบการ - นวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตกุ้งทะเล โดย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์ผู้เลี้ยงกุ้งไทย |
10:50 – 11:10 น. |
- นวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตปลานิล โดย นายปรัชญา นวไตรลาภ ประธานกรรมการบริษัท ป. เจริญฟาร์ม |
|
11:00 – 12:00 น. |
|
NSTDA Research Highlight for aquaculture โดย ดร. ศุภนิจ พรธีรภัทร หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ดร. ธีรพงศ์ ยะทา หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ดร. เสจ ไชยเพ็ชร ห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสัตว์น้ำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
* มีการนำชมห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสัตว์น้ำในภาคบ่ายในเวลา 13:00 – 13:30 น. จำนวน 20 ท่านเท่านั้น
ภาคบ่าย: highlight งานวิจัย
เวลา |
การนำเสนอ |
13:00 – 13:20 น. |
โดย ดร. แสงจันทร์ เสนาปิน นักวิจัย หัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. และ หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
13;20 – 14:00 น. |
การพัฒนาระบบการตรวจเชื้อ (Diagnostic technology) โดย นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย [PDF] หัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. รศ.ดร. ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร [PDF] คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
14:00 – 14:20 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14:20 – 14:40 น. |
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RNAi (Application of RNA interference technology) โดย ดร. วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม นักวิจัย หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. และ หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
14:40 – 15:30 น. |
การพัฒนาวัคซีน (Vaccines in Aquaculture) - วัคซีนป้องกันโรค Streptococcosis ในปลานิล [1] / [2] / [3] / [4] โดย รศ.ดร. นนทวิทย์ อารีย์ชน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - วัคซีนป้องกันโรค Columnaris ในปลานิล โดย นสพ.ผศ.ดร. ชาญณรงค์ รอดคำ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - การศึกษาแนวทางการใช้ Subunit vaccine ในการป้องกันโรคติดเชื้อในปลา [PDF] โดย ดร. พงษ์ศักดิ์ ขุนแร่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
15:30 – 16:00 น. |
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Bioinformatics approach) โดย ดร. อนุภาพ ประชุมวัด นักวิจัย ห้องปฏิบัติการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกุ้งและเชื้อก่อโรค หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. นสพ.ดร. พัฒนพล ขยันสำรวจ [PDF] คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |