NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - เทคนิคการเลี้ยงหนอนแม่โจ้เพื่อผลิตโปรตีนอาหารสัตว์

เทคนิคการเลี้ยงหนอนแม่โจ้เพื่อผลิตโปรตีนอาหารสัตว์

วันที่ 13 มีนาคม  2561 เวลา 13.00 17.00.

ห้องประชุม SSH-Lecture I อาคาร 18 (อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)) 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

_______________________________________________________________________________________________________________________

      ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้วิจัยและพัฒนาการเลี้ยงหนอนแม่โจ้เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เครือข่ายภาคเหนือ จากงานวิจัยพบว่า ตัวหนอนแม่โจ้ มีศักยภาพในการกำจัดขยะอินทรีย์ได้ผลดี ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และพบว่าตัวหนอนแม่โจ้ที่เลี้ยงได้มีส่วนประกอบของโปรตีนสูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด รวมทั้งมีโอเมก้า 3 6 9 ในปริมาณสูง เมื่อทดสอบนำหนอนแม่โจ้ไปเลี้ยงไก่ชนวันละ 10 ตัว/ไก่ 1 ตัว/วัน ในเบื้องต้นพบว่าให้ผลในด้านการเพิ่มน้ำหนักและฟื้นฟูสุขภาพไก่ชนดี โดยไก่ชนมีลักษณะขนเป็นมัน ก้นแดง หน้าแดง และหน้าแดงแข็ง ดังนั้นจึงเป็นการจัดการขยะอินทรีย์ที่ได้ผลพลอยได้คือ ตัวหนอนที่ค่อนข้างคุ้มค่า เหมาะสมที่จะใช้เป็นตัวเลือกหนึ่งในการจัดการปัญหาขยะอินทรีย์ และเพื่อผลิตอาหารสัตว์โปรตีนสูงสำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง เช่น ปลาสวยงาม กุ้งก้าม กุ้งลอบเตอร์ ปลาเก๋า ไก่ชน ไก่อินทรีย์ ฯลฯ 

กำหนดการ

13:00 - 14:00 น.

สรีระวิทยาและวงจรชีวิตของหนอนแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ ตันโช

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

14:00 - 15:00 น.

เทคนิคการเลี้ยงตัวหนอนแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ ตันโช

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

15:00 - 15:15 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:15 - 16:30 น.

สาธิต เรื่อง เทคนิคการเลี้ยงหนอนแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ ตันโช

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทีม

16:30 - 17:00 น.

สรุป ซักถาม