NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - การแยกขยายรังชันโรงด้วยวิธีอย่างง่าย

< < สรุปประเด็นสัมมนา > >

การแยกขยายรังชันโรงด้วยวิธีอย่างง่าย
วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 13:15 – 16:00 น.
ห้องประชุม Business Center อาคาร 19 Zone D (อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC-2) โซน ดี)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

_______________________________________________________________________________________________________________________ 

         ชันโรง เป็นแมลงจำพวกผึ้งไม่มีเหล็กใน มีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรพืชโดยเฉพาะพืชป่าและพืชพื้นเมือง  ชันโรงจะประกอบไปด้วยชันโรง 3 วรรณะเช่นเดียวกันกับผึ้ง คือ วรรณะชันโรงนางพญา วรรณะชันโรงตัวผู้และวรรณะชันโรงงาน ชันโรงมีวงจรชีวิตเช่นเดียวกับผึ้งคือ ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ปัจจุบัน เกษตรกรมักนิยมเลี้ยงชันโรงในสวนผลไม้เพื่อช่วยผสมเกสร เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีผลผลิตเป็นน้ำผึ้งชันโรง พรอพโพลิส จำหน่ายได้ในราคาสูง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แชมพู สบู่ ยาสระผม เป็นต้น รวมทั้ง เกิดเป็นอาชีพจำหน่ายรังชันโรง ให้บริการเช่ารังชันโรงสำหรับสวนผลไม้ต่างๆ ในธรรมชาติ ชันโรงจะผลิตไข่นางพญาเพื่อเพิ่มจำนวนเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม มีอาหารปริมาณมาก เมื่อไข่นางพญาฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย จะบินออกไปสร้างประชากรใหม่ในธรรมชาติ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถจับมาเลี้ยงต่อได้ แต่ในปัจจุบัน เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ชันโรงได้โดยอาศัยวิธีการแบบธรรมชาติ ด้วยการแบ่งแยกขยายรังชันโรงจากรังเก่าไปยังรังใหม่ แต่ต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและระวัดระวัง 

        การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการเลี้ยง การดูแลรังชันโรง และฝึกปฏิบัติการแยกขยายรังชันโรงโดยวิทยากร คุณวสันต์ ภูผา ศูนย์เพาะเลี้ยงชันโรง บ้านสวนภูผา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลและเลี้ยงชันโรงในสวนส้มโอ สร้างรายได้จากชันโรง และได้ผลผลิตส้มโอ คุณภาพส่งออกหลักล้านบาทต่อปี มีผลิตภัณฑ์จากชันโรงหลากหลาย นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ชิมน้ำผึ้งชันโรงจากธรรมชาติ 100% และมีกิจกรรมตอบคำถามจากวิทยากรชิงรางวัลเป็นส้มโอพันธุ์ทองดี (มีจำนวนจำกัด) 

วิทยากร คุณวสันต์ ภูผา (เกษตรกร) ศูนย์เพาะเลี้ยงชันโรง บ้านสวนภูผา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 

จำนวนผู้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติไม่เกิน 30 ท่าน
 

กำหนดการ

13:15 – 13:30 น.

ชันโรง คืออะไร และประสบการณ์การเลี้ยงชันโรงเป็นสื่อผสมเกสรในสวนผลไม้

13:30 – 14:30 น.

ชมสาธิตการแยกขยายรังชันโรง การเก็บน้ำหวาน ชิมน้ำผึ้งสดๆ จากธรรมชาติ

14:30 – 15:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:00 – 16:30 น.

ฝึกลงมือปฏิบัติแยกขยายรังชันโรง (แบ่งกลุ่ม 2 คน ต่อ 1 รังชันโรง)

(ภายหลังการฝึกปฏิบัติรังชันโรงจะนำไปอนุบาลและดูแลต่อในสวนผลไม้)