ค้นหาไข่มุกระบบราง
(Perspective and evaluation of an outcome-based rail research learning - PEARL 2018)
วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 – 16:00 น.
ห้องประชุม CC-301 อาคาร 14 (ศูนย์ประชุม CC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
_________________________________________________________________________________________________________________________
โครงการส่งเสริมการศึกษาและวิจัยร่วมระบบขนส่งทางรางโดยมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้การสนับสนุนของ สวทช. ได้มุ่งเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมขนส่งทางรางโดยดำเนินการผ่านกระบวนการสหกิจศึกษาและโครงการวิจัยของนักศึกษา ซึ่งการพัฒนานักศึกษาจากโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากำลังคนระบบรางและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบบรางของประเทศ ซึ่งในการดำเนินงานปีนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 36 คนจากมหาวิทยาลัยจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีสถานประกอบการระบบขนส่งทางรางเข้าร่วมจำนวน 12 แห่ง ดังนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย/บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)/บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)/บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด/การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)/บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด/บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)/บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด/บริษัท ทรานส์ไทยเรลเวย์ จำกัด/บริษัท แพลนโปร จำกัด/บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด และมีหัวข้อวิจัยที่เกิดขึ้นจำนวน 19 เรื่อง ประกอบด้วยทุนประเภท สหกิจศึกษา 8 ทุน และปริญญานิพนธ์จำนวน 11 ทุน และอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งหมด 12 ท่าน
กิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาในงานประชุมวิชาการประจำปี ของ สวทช. ในปี 2561 (NAC 2018) จึงเป็นเวทีเพื่อค้นหาไข่มุกระบบราง
กำหนดการ |
|
09:00 - 09:15 น. |
กล่าวเปิดงานโดยผู้แทนจาก สวทช. |
กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 09:15 - 09:30 น.
|
การศึกษาและประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในช่วงการก่อสร้างของ โครงการรถไฟฟ้าแบบยกระดับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) โดย นายปกรณ์ณภัทร์ เกศนิธิวรกุล และนางสาวชุติวรรณโชวเกษม (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
09:30 - 09:45 น. |
วิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยความล่าช้าของโครงการก่อสร้างทางรถไฟของ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) โดย นายศิกวัช สุขุมอำนวยชัย และนางสาวจรินพร สุขเจริญ (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
09:45 - 10:00 น. |
ข้อกำหนดน้ำหนักบรรทุกสำหรับการออกแบบสะพานทางรถไฟ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย นางสาวกัลยารัตน์ สมดี และนางสาวเมขลา สวนแก้ว (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต |
10:00 - 10:15 น. |
ข้อกำหนด วิธีการติดตั้ง และปัญหาในงานวางรางโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) โดย นายอดิศร แสงเพ็ชร (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต |
10:15 - 10:30 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 10:30 - 10:45 น. |
การเปรียบเทียบผลของรูปแบบการติด Strain gauges ที่มีต่อการวัดแรงกระทำต่อรางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย นายพีรวิทย์ คำสมุทร และนายพีรวัส พึ่งพาพัฒน์ (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม 10:45 - 11:00 น.
|
การเลือกผงเชื่อมเทอร์มิตที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมทางกลของแนวเชื่อมเทอร์มิตเหล็กรางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดย นายเอกชาติ สังข์รุ่ง นายณัฐดนัย สุขพันธ์อ่ำ และนายวัชระ ลาแก้ว (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรม เครื่องกล 11:00 - 11:15 น. |
การศึกษาพฤติกรรมการไหลของควันไฟภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินโดยระเบียบวิธีเชิงตัวเลข บริษัท Team Consulting Engineering and Management Co., Ltd. โดย นายณภัทร สงวนดิลกรัตน์ และนางสาวชนัญธิดา คงกระจ่าง (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
กลุ่มสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ 11:15 - 11:30 น. |
การศึกษาระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ สายโคราช บริษัท ทรานส์ไทยเรลเวลย์ จำกัด โดย นายปฏิวัติ หารัญดา (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ |
11:30 - 11:45 น. |
การศึกษาระบบประแจรถไฟ สายโคราช บริษัท ทรานส์ไทยเรลเวลย์ จำกัด โดย นายณัฐชนญ จิตเพียร (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ |
11:45 - 12:00 น. |
ถ่ายรูปร่วมกัน |
12:00 - 13:00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย |
กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง 13:00 - 13:15 น. |
การจำลองการเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบริเวณแยกเกษตรศาสตร์ บริษัท แพลนโปร จำกัด โดย นางสาวรัตติยา พลจันทึก (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
13:15 - 13:30 น. |
การจำลองการอพยพผู้โดยสารออกจากสถานีรถไฟฟ้าสีน้ำตาลบริเวณแยกเกษตรศาสตร์ บริษัท แพลนโปร จำกัด โดย นางสาวภาณินนุช ตั้งสมบูรณ์ (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
13:30 - 13:45 น |
การพัฒนาระบบเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าในอนาคตกรณีศึกษารถสองแถว ในเขตเมืองจังหวัดขอนแก่น บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด โดย นางสาวฐิติมา เย็นสวัสดิ์ (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
13:45 - 14:00 น. |
การวางแผนจัดเส้นทางรถสองแถวเพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งทางรางในอนาคต กรณีศึกษากับระบบขนส่งทางรางในอนาคต กรณีศึกษาเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด โดย นางสาวกัลยาลักษณ์ ลำภา (สหกิจศึกษา) สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 14:00 – 14:15 น. |
การจำลองการใช้ไฟฟ้าของขบวนรถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดย นางสาวสุภัชชา วงศ์บุญมาก และนางสาวชลธิดา กันแก้ว (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
14:15 - 14:30 น. |
การวิเคราะห์คุณภาพทางไฟฟ้าระบบรางของ “Airport Rail Link” บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด โดย นายอดิศร พันธ์น้อย นายอภิรัฐ ตลับใหม่ และนายปวเรศ ประทุมมาศ (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
14:30 - 14:45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14:45 - 15:00 น. |
การติดตามและรับส่งข้อมูลการใช้งานของรถไฟขนส่งสินค้าผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดย นายกมลพัฒน์ เรียงเงิน นายอนุวัติ สุภารัตน์ และนายเทพไทย วิทยาพิภพสกุล (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
15:00 - 15:15 น. |
ชุดจำลองสัญญาณขบวนรถไฟฟ้าเพื่อกำหนดการทำงานประตูกั้นชานชาลา โดย นายรชฎ หอมกลิ่น และนางสาวพันธิภา แอบท้องไกร (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
15:15 - 15:30 น. |
การใช้งานหลักการบังคับล็อคสัมพันธ์ในระบบรถไฟฟ้าโดยการอาณัติสัญญาณชนิด ETCS บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด โดย นางสาวอภิชญา จักรวาฬรัตน์ นางสาวนรีรัตน์ จิรภาวสุทธิ์ และนางสาวอารียา ยอดสง่า (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
15:30 - 15:45 น. |
เครื่องทดสอบหน้าสัมผัสรีเลย์ระบบรถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดย นางสาวพรไพลิน ลิมป์จันทรา และนางสาวพัทธ์ธีรา ศิริชัย (ปริญญานิพนธ์) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
15:45 - 16:00 น. |
กล่าวปิดงานโดยผู้แทนจาก สวทช. |