ประเทศไทยเคยครองแชมป์ผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลก ในปี พ.ศ. 2553 และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2555 กลับต้องประสบปัญหาการระบาดของโรคกุ้งที่มีอาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome) ทำให้ผลผลิตกุ้งของไทยลดลงไปมากกว่าครึ่งนึง และสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจไปอย่างมหาศาล แม้ปัจจุบันอุตสาหกรรมกุ้งไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะโรคกุ้งอาจกลับมาระบาดได้อีกทุกเมื่อ
นอกจากโรคระบาดที่ต้องคอยเฝ้าระวังแล้ว กุ้งเป็นสัตว์น้ำที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในบ่อเลี้ยงอย่างมาก เช่น ปริมาณออกซิเจน คุณภาพน้ำ ชนิดของแบคทีเรียในน้ำ เป็นต้น ซึ่งผู้เลี้ยงกุ้งต้องการทราบถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันและแก้ไขไม่ให้มีผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของกุ้ง แต่การตรวจข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ มักมีขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เวลานานบางครั้งกว่าจะรู้ผลก็สายไปเสียแล้ว
ทีมวิจัยจึงได้พัฒนา ‘อะควาโกรว์’ เป็นระบบอัจฉริยะที่ช่วยเกษตรกรติดตามดูแลคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก คือ ระบบบริหารจัดการคุณภาพน้ำ อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคมี อุปกรณ์ตรวจวัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยจะมีการบันทึกและรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 ด้านแบบ Real-time ผ่านเครือข่ายInternet of Things (IoT) ที่สำคัญระบบสามารถนำข้อมูลที่บันทึกมาวิเคราะห์เพื่อแจ้งเตือน พร้อมทั้งให้คำแนะนำการปรับสภาพบ่อเลี้ยงในเบื้องต้นแก่ผู้ใช้ เมื่อบ่อเลี้ยงอยู่ในสถานะสุ่มเสี่ยงได้อีกด้วย
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
นักวิจัย
ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร และทีมวิจัย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ศศิน เชาวนกุล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ