ไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของยางแท่ง ซึ่งมียางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตยางแท่ง ปัญหาหลักของกระบวนการแปรรูปขั้นต้น คือ กลิ่นเหม็นของยางก้อนถ้วยที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนตามธรรมชาติเข้าไปย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของยางพารา ทำให้เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นหลายชนิด และจะถูกส่งต่อไปยังยางแท่ง STR 10/STR 20 ด้วย
การแก้ปัญหาตั้งแต่การผลิตยางก้อนถ้วยจึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนกว่า เพราะสามารถป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ทีมวิจัยได้ค้นพบสารจับตัวน้ำยางพาราชนิดใหม่ ที่สามารถผลิตยางก้อนถ้วยไร้กลิ่น ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และปรับปรุงโครงสร้างของโปรตีนให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งช่วยลดกลิ่นจากการเน่าเสียได้ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ ในกลุ่มผู้ผลิตยางก้อนถ้วย และ/หรือ ยางแท่ง และ ผู้ผลิตและจำหน่ายเคมีสำหรับยาง
นักวิจัย
นางฉวีวรรณ คงแก้ว นายสุริยกมล มณฑา นางสาวปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ