การเลี้ยงโคนมบนพื้นปูนซีเมนต์ มักส่งผลเสียต่อสุขภาพของโคนม น้ำนมที่ได้มีปริมาณและคุณภาพลดลง การใช้แผ่นยางปูบนพื้นซีเมนต์เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาสุขภาพของโคนมได้ แผ่นยางปูพื้นคอกในท้องตลาดอาจมีสารเคมีตกค้างจากกระบวนการผลิต ความเป็นพิษจากสารเคมีตกค้างนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโคนม การใช้แผ่นยางพาราปูพื้นคอกปศุสัตว์ความเป็นพิษต่ำที่มีคุณภาพดี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์เทียบเคียง ได้แก่ แผ่นยางปูคอก และแผ่นปูคอก EVA ยางปูคอกปศุสัตว์ที่ทีมวิจัยคิดค้นเป็นแผ่นยางพาราที่มีความเป็นพิษต่ำสำหรับใช้ในฟาร์มโคนม ช่วยลดการบาดเจ็บของโคนมจากการกดทับของน้ำหนักตัว ทำให้น้ำนมที่ผลิตได้มีปริมาณมากและมีคุณภาพดี
แผ่นยางพาราความเป็นพิษต่ำสามารถประยุกต์ใช้ปูรองบ่อน้ำเพื่อกักเก็บน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรหรือบ่อสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้นทุนการผลิตและการติดตั้งต่ำ เหมาะสำหรับการปูรองบ่อดินที่มีความสามารถในการกักเก็บน้ำน้อย ผลงานวิจัยแผ่นยางธรรมชาติชิ้นนี้มีสมบัติผ่านตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4513 (พ.ศ. 2556) มาตรฐาน มอก. 2583-2556 “แผ่นยางสำหรับปูบ่อน้ำ”
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ หรือ ผู้ร่วมทดสอบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อปรับสูตรการผลิตให้เหมาะสมกับกระบวนการขึ้นรูป กลุ่มผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์สำหรับปศุสัตว์ กลุ่มโรงงานผลิตหรือแปรรูปแผ่นยางพารา
นักวิจัย
ดร. ไพโรจน์ จิตรธรรม ดร. ภุชงค์ ทับทอง และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ