ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก

นวัตกรรมสำหรับฟื้นฟูร่างกายที่พัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาประยุกต์กับหลักการฟื้นฟูพื้นฐาน ช่วยให้บุคลากรด้านการฟื้นฟูร่างกายมีอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

WEFRE Rehab System หรือเรียกย่อว่า “WEFRE” ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก (Wrist-Elbow-Forearm Robotic Economical Rehabilitation System) คือ นวัตกรรมสำหรับฟื้นฟูร่างกายที่พัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาประยุกต์กับหลักการฟื้นฟูพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสริมให้บุคลากรด้านการฟื้นฟูร่างกายได้มีอุปกรณ์ที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหลักของการออกแบบนวัตกรรมนี้คือ PEA – Portable-Enjoyable-Affordable ซึ่งหมายถึงนวัตกรรมนี้ต้องเป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลินในขณะทำการฟื้นฟู และมีราคาที่เหมาะสม

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ตัวขับเคลื่อนหลักคือมอเตอร์หนึ่งตัวพร้อมข้อต่อหนึ่งข้อต่อ
  • ตัวหุ่นยนต์สามารถต่อเข้ากับส่วนรองรับแขนและส่วนรองรับมือเพื่อการฟื้นฟูส่วนของแขนได้ 3 ส่วน ได้แก่ การฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และ ข้อศอก ตามลำดับ
  • ส่วนรองรับแขนและส่วนรองรับมือได้รับการออกแบบมาให้รองรับแขนที่มีขนาดความยาวแตกต่างกันได้
  • สามารถใช้ฟื้นฟูได้ทั้งแขนซ้ายและแขนขวา
  • ผู้ใช้สามารถเลือกระยะเวลาสำหรับทำการฟื้นฟูในแต่ละครั้งได้ ตั้งแต่ 5 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง
  • ผู้ใช้สามารถเลือกโหมดของการฟื้นฟูได้ 5 แบบ ได้แก่ Passive, Passive Stretching, Initiating Active, Active Assisted และ Active Resisted
  • เกมสำหรับการฟื้นฟูจะเปลี่ยนตามส่วนของแขนที่ต้องการทำการฟื้นฟู และโหมดของการฟื้นฟู วิธีการใช้งาน
  • เชื่อมต่อระบบหุ่นยนต์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงโปรแกรมการใช้งานไว้
  • เปิดการทำงานของระบบหุ่นยนต์และเปิดโปรแกรมใช้งานระบบหุ่นยนต์
  • เลือกข้อกำหนดของการฟื้นฟูที่ต้องการ เช่น ส่วนของแขนที่ต้องการฟื้นฟู ระยะเวลาสำหรับการฟื้นฟู ความเร็วสำหรับการเคลื่อนไหว และโหมดของการฟื้นฟู
  • กดปุ่ม “Start” เมื่อต้องทำการฟื้นฟูตามข้อกำหนดของการฟื้นฟูข้างต้นแล้วปิดโปรแกรมและระบบหุ่นยนต์หลังใช้งาน
  • ระบบหุ่นยนต์สามารถฟื้นฟูได้หลายรูปแบบในระบบเดียว
  • สามารถติดตั้ง เคลื่อนย้าย และใช้งานได้ง่าย
  • ระบบมีประสิทธิภาพคุ้มราคา

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

  • เลขที่คำขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขที่ 1102002003
  • เลขที่คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 1301006367
  • ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหนึ่งรายการ ได้แก่ อนุสิทธิบัตร เลขที่ 8305

สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

นักวิจัย
ดร.วินัย ชนปรมัตถ์
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG)
ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท (NSP)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ศศิน เชาวนกุล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :