การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม AR / VR Technology สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรม

Introduction:

Augmented Reality (AR) / Virtual Reality (VR) เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความเสมือนจริง โดยอาศัยหลักการมองเห็น เสียง และการสัมผัส ผ่านอุปกรณ์ควบคุม ซอฟแวร์ และฮาร์ดแวร์ประมวลผล เมื่อประยุกต์เข้ากับกับกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรม โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์ (CAD/CAE) โดยโมเดลสามมิติหรือที่เรียกว่า AR/VR model ที่ถูกสร้างขึ้นในโลกเสมือนจริง จะช่วยทำให้ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถเห็น ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน

อีกทั้งเข้าใจและสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ทั้งก่อนการใช้งาน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังการใช้งาน โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน และอาจเป็นอันตรายในระหว่างการตรวจสอบการใช้งาน เช่น การตรวจสอบความเสียหายของห้องโดยสารรถตู้พยาบาลหลังจากการทดสอบการพลิกคว่ำ ซึ่งจะทำให้ผู้ออกแบบสามารถเข้าถึงมองเห็น รวมถึงวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายของโครงสร้างแต่ละส่วน ในอัตราส่วน 1:1 เท่ากับชิ้นงานจริง โดยเฉพาะห้องโดยสารภายในได้อย่างชัดเจน ทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อประกอบในการวางแผนการผลิต และติดตั้งผลิตภัณฑ์เหล่านั้น อันจะมีส่วนช่วยในการลดต้นทุน เวลา รวมถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR/VR ในการออกแบบโครงสร้างเสริมความแข็งแรงในการรองรับการพลิกของห้องโดยสารรถตู้พยาบาล

  • ตรวจสอบความเสียหายของผลลัพธ์การพลิกคว่ำของต้นแบบโครงสร้างเสริมความแข็งแรงในการรองรับการพลิกคว่ำของห้องโดยสารรถตู้พยาบาลที่สอดคล้องกับมาตรฐาน UN R66 
  • ตรวจสอบการลักษณะ และรูปแบบติดตั้งโครงสร้างเสริมความแข็งแรงภายในห้องโดยสารรถตู้พยาบาลแบบต่างๆ ที่ออกแบบไว้

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ใช้การตรวจสอบความเสียหาย ลดความผิดพลาดในติดตั้ง รวมถึงช่วยเพิ่มมุมมอง และรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น
  • สร้างองค์ความรู้และความสามารถของทีมวิจัยในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR/VR สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรม โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์ (CAD/CAE)
 

สถานะงานวิจัย

  • ต้นแบบโครงสร้างเสริมความแข็งแรงในการรองรับการพลิกคว่ำของห้องโดยสารรถตู้พยาบาลที่สอดคล้องกับมาตรฐาน UN R66 ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน AR/VR ถูกนำไปผลิต และติดตั้งเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับห้องโดยสารรถตู้พยาบาลที่จัดจำหน่ายโดย บริษัท สุพรีร่า อินโนเวชั่น จำกัด (แหล่งทุนวิจัย: บ.สุพรีร่า อินโนเวชั่น)
  • อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะและสมรรถนะด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (แหล่งทุนวิจัย: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

 

รูปที่ 1 ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี VR เพื่อให้ผู้เรียนมาสามารถเรียนรู้หรือทำความรู้จักชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่างๆ

ตัวอย่างในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นตัวอย่างโมเดลแบบ VR ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือทำความรู้จักชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถเพื่อการเกษตร ส่วนประกอบของยานยนต์ได้ด้วยตัวเอง

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างโมเดลแบบ VR ของการวิเคราะห์ความแข็งแรงของรถตู้โดยสารเชิงวิศวกรรม ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาการออกแบบวิศวกรรม (CAD/CAE)

ตัวอย่างในรูปที่ 2 แสดงให้เห็นตัวอย่างโมเดลแบบ VR ของการวิเคราะห์ความแข็งแรงของรถตู้โดยสารเชิงวิศวกรรม ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาการออกแบบวิศวกรรม (CAD/CAE) ได้ดีขึ้น จากการสามารถสร้างแบบจำลองสามมิติที่มีขนาด 1:1 หรือเท่ากับชิ้นงานจริง

 

รูปที่ 3 ตัวอย่างวิธีการสร้างโมเดลแบบ VR เป็นสื่อการเรียนรู้หลักการวิเคราะห์ความแข็งแรงของรถตู้โดยสารเชิงวิศวกรรม ที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาการออกแบบวิศวกรรม (CAD/CAE)

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ศราวุธ เลิศพลังสันติ (นักวิจัยอาวุโส)
ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน (วิศวกรอาวุโส)
ทีมวิจัยออกแบบและแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรม
กลุ่มวิจัยการออกแบบวิศวกรรมและการคำนวณ

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

นิทรรศการอื่นๆ :