การเชื่อมโยงศาสตร์ด้านเคมี ด้านวัสดุศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร ผ่านการออกแบบโครงสร้างอาหารเพื่อปรับเนื้อสัมผัสอาหารเพื่อสุขภาพ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ตัวอย่างอาหารเพื่อสุขภาพที่วิจัยในห้องปฏิบัติการ เช่น อาหารไขมันต่ำ อาหารปราศจากกลูเตน อาหารสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะเคี้ยวและกลืนลำบาก รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือก เช่น อาหารจากโปรตีนพืช
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น flexitarian ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะกลืนลำบาก
ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี การนำไปใช้ประโยชน์
ทีมวิจัยใช้ เทคโนโลยีการสับผสมและออกแบบโครงสร้างใหม่ เทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชัน และเทคโนโลยี 3D food printing เพื่อผลิตอาหารจากโปรตีนพืชสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกัน
ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจสังคม
การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตอาหารจากโปรตีนพืชเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ เป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ BCG model รวมไปถึงการที่ประเทศไทยมีความหลากหลายของวัตถุดิบอาหาร การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจึงสามารถช่วยสร้างความยั่งยืนในมุมมองของวัตถุดิบอาหาร และยังสร้างจุดเด่น และความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงส่งเสริมเกษตรกรและผู้ผลิต ในการยกระดับ เพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรให้ตอบสนองต่อแนวทางการบริโภคอาหารของโลก เป็นการเพิ่มรายได้ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม
คุณชนิต วานิกานุกูล (BD)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ