HandySense & Farm to School ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ และระบบเชื่อมโยงผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน

Introduction:

HandySense : ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ (sensor) ผนวกอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Things) มาพร้อมกับความโดดเด่นคือ อุปกรณ์ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ในราคาที่เกษตรกรเข้าถึงได้

 

 

โดย HandySense จะตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชผลแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ (sensor) ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ แสง และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่เหมาะสมของการเพาะปลูกพืช (Crop Requirement) เพื่อแจ้งเตือนและสั่งการระบบต่าง ๆ ให้ทำงานต่อไป

 

  

Farm To School : ระบบเชื่อมโยงผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน เป็นระบบที่ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เป็นทั้งโรงเรียน เครือข่ายเกษตรกร และผู้จัดหาผลผลิต โดยที่ระบบถูกออกแบบให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รองรับการทำงานที่ใช้งานบนกับอุปกรณ์ต่าง ๆ

 

 

เพื่อสนับสนุนให้เกิดการซื้อขายผลผลิตระหว่างโรงเรียนและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ ผ่านสัญญาการซื้อขายและวางแผนการผลิตล่วงหน้า  ร่วมกับความสามารถของระบบในการเชื่อมโยงข้อมูลความต้องการผลผลิตของโรงเรียนแบบอัตโนมัติจากระบบ Thai School Lunch และการจัดสรรผลผลิตเพื่อป้อนให้กับโรงเรียนตามเงื่อนไขที่กำหนด

คุณลักษณะ

  1. เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูลสภาพแวดล้อมและสั่งงานระบบผ่าน web application ที่สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ไปจนถึงสมาร์ตโฟน เมื่อระบบพบสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับพืช เช่น อุณหภูมิในแปลงสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้จะแสดงผลเป็นสีแดง เพื่อให้เกษตรกรสังเกตเห็นได้โดยง่ายและสามารถสั่งงานต่อไปได้ทันที ผ่าน 3 สมาร์ตฟังก์ชัน ดังนี้
    – การสั่งงานผ่านสมาร์ตโฟน เกษตรกรสามารถสั่งงาน on / off ระบบควบคุมต่าง ๆ ผ่านสมาร์ตโฟนได้ เช่น หากพบการแจ้งเตือนค่าความชื้นในดินต่ำกว่าที่กำหนด สามารถกดสั่งรดน้ำพืชผลได้ทันที
    – การตั้งเวลา เกษตรกรสามารถตั้งเวลาให้ระบบทำงานโดยอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ตั้งเวลาการให้ปุ๋ยซึ่งจำเป็นต้องให้อย่างสม่ำเสมอ มีรอบเวลาชัดเจน
    -การใช้ระบบเซนเซอร์เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบค่าสภาวะที่ไม่เหมาะสมจะสั่งงานระบบอื่น ๆ ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น หากพบค่าอุณหภูมิสูงกว่าที่กำหนด จะสั่งงานให้สเปรย์หมอกทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อลดอุณหภูมิ
  2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการซื้อขายผลผลิตสำหรับการประกอบอาหารกลางวันระหว่างโรงเรียนและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อประโยชน์สำหรับเกษตรกรในการวางแผนการผลิตล่วงหน้า และสำหรับโรงเรียนในการปรับสำรับอาหารกลางวันให้เหมาะสมกับผลผลิตที่มีตามฤดูกาลในพื้นที่
  3. ระบบบริหารจัดการข้อมูลความต้องการสินค้าเกษตรสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติสำหรับโรงเรียนที่จัดสำรับอาหารผ่านระบบ Thai School Lunch (TSL) และโรงเรียนที่ไม่ได้ใช้ระบบ TSL ระบบมีความสามารถในการติดตามและตรวจสอบสถานะของการสั่งซื้อ และรองรับการจัดสรรผลผลิตที่ใกล้เคียงกับความต้องการเดิมในกรณีที่ไม่มีผลผลิตนั้นในเครือข่ายเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่ตามความเงื่อนไข 

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี 

  1. เป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูก ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมในการปลูกตั้งแต่ต้น ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิต รวมถึงช่วยเรื่องการเพิ่มคุณค่าของผลิตผลได้
  2. สามารถควบคุมคุณภาพ ประเมินปริมาณผลผลิต เพิ่มคุณค่าผลผลิต รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต
  3. เป็นเครื่องมือ web application เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างความต้องการผลผลิตและความสามารถในการผลิตระหว่างโรงเรียนและเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ ที่ใช้งานง่าย และรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์
  4. บริหารจัดการข้อมูลผลผลิตแบบครบวงจร ทั้งในส่วนของการจับคู่ความต้องการจากโรงเรียนและความสามารถในการผลิตของการเกษตรกร และกระบวนการติดตามตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อ
  5. รองรับการค้นหาเกษตรกรตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่นราคา ระยะทาง และมาตรฐานการผลิต
  6. เป็นแพลตฟอร์มตั้งต้นในการพัฒนาฐานข้อมูลผลผลิตท้องถิ่นตามฤดูกาล เพื่อการขยายผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น การสร้างระบบแนะนำสำรับอาหารอัตโนมัติโดยใช้ผลผลิตที่มีอยู่ตามฤดูกาลในพื้นที่ และระบบตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตสินค้าเกษตร

ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน 
สามารถใช้งานได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  1. เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้จัดหาผลผลิต สหกรณ์เกษตรในโรงเรียน
  2. ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีที่มีความต้องการนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี

สถานภาพการพัฒนา

  1. HandySense ติดตั้งใช้งานไปแล้วมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ และประกาศเป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open Innovation) เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้กับแปลงเกษตรและเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
  2. Farm To School อยู่ระหว่างการทดสอบการใช้งานในพื้นที่นำร่องของโครงการใน 3 ตำบล 3 อำเภอของจังหวัดสุรินทร์ ประกอบไปด้วย 8 กลุ่มวิสาหกิจและเครือข่ายเกษตรกรและ 5 โรงเรียนใน ต.จอมพระ อ.จอมพระ, ต. อู่โลก อ.ลำดวน และ ต.ตานี อ.ปราสาท 

หน่วยงานพันธมิตร

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.)
  • สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
  • สมาคมไทยไอโอที
  • คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตจอมพระ
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
  • Food System Academy
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

วิจัยพัฒนาโดย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT)
ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ (ITSN)

ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARU)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เอกสารประกอบการบรรยาย

รวมรายการวิดิโอนิทรรศการ

HandySense | EP.1 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ "เพื่อทุกคน"
HandySense | EP.1 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ "เพื่อทุกคน"
06:13
2021Board-July03 Farm to school-V1
2021Board-July03 Farm to school-V1
03:05

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ฝ่ายกลยุทธวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

นิทรรศการอื่นๆ :