โครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ภายใต้โครงการโตโยต้าเมืองสีเขียว ความร่วมมือระหว่างบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (จำกัด) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนชุมชนและโรงเรียนการดำเนินงานเพื่อลดมลพิษ
2. ให้ความสำคัญกับสถานศึกษาในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาเพื่อปรับใช้ในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
3. มุ่งมั่นให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
การดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ในระยะเวลา 1 ปี
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1) ชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
2) โรงเรียน
– โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
– โรงเรียนระดับอาชีวศึกษา
ผลการดำเนินโครงการ
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 25,000 tonCO2e
ผู้ชนะเลิศโครงการ
โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก
ชุมชนบ้านแม่ป๋าม เทศบาลตำบลปิงโค้ง จังหวัดเชียงใหม่ “โครงการแม่ป๋ามสามฮัก”
โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
“โครงการถุงนาโนคอมโพสิตจากยางพาราเสริมแรงด้วยนาโนเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอ”
วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
“โครงการเครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน”
โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก
โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลกเป็นการดำเนินงานประกวดชุมชนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ที่มีการดำเนินงานลดการปล่อยมลพิษสู่การลดภาวะโลกร้อนในพื้นที่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
ทางโครงการได้นิยามคำว่า มลพิษ (Pollution) ภายใต้โครงการหมายถึง ของเสีย กากตะกอน มลสารหรือวัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่ถูกปล่อยออกมาจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จนทำให้สภาวะแวดล้อมปนเปื้อน ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และสุขภาพของคนในชุมชน รวมทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยมีแนวทางในการลดมลพิษ 4 แนวทาง ดังนี้
ผลการประกวดโครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 1
รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ชุมชนบ้านแม่ป๋าม เทศบาลตำบลปิงโค้ง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการแม่ป๋ามสามฮัก
ชุมชนบ้านแม่ป๋ามเป็นชุมชนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม ลักษณะป่าในพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณและผลัดใบในฤดูแล้ง ซึ่งแต่ก่อนใช้วิธีกำจัดเศษวัสดุต่าง ๆ ด้วยการชิงเผา และบางครั้งไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ นำมาซึ่งปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนโดยตรง ชาวชุมชนบ้านแม่ป๋ามจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันคิดวางแผนและดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหา โดยได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน เทศบาลตำบลปิงโค้ง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินกิจกรรมดังนี้
การช่วยกันอนุรักษ์ป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการดูดซับและเก็บกักน้ำฝนตามธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่าการรักษาป่าไม้และสายน้ำจะทำให้ชุมชนเกิดความผาสุก ดังนั้นความเชื่อ วิถีชีวิต การรักษาป่าไม้และสายน้ำ จึงเป็นหัวใจสำคัญของแม่ป๋ามสามฮัก ชุมชนแห่งการลดเปลี่ยนโลก โดยกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์พื้นที่สีเขียว สามารถดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 529,725 kgCO2/ปี ส่วนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 5,160 kgCO2/ปี ชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้องยังคงร่วมกันดำเนินงานอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “แม่ป๋ามสามฮัก ลดเปลี่ยนโลก”
โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก
เป็นการประกวดผลงานและแนวคิดด้านนวัตกรรมของเยาวชน ในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2564) โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) และนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา(สายอาชีวศึกษา) พร้อมด้วยครูที่ปรึกษาโดยมี วัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
ผลงาน : เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน
วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะลงมหาสมุทรมากที่สุดในโลก ขยะอย่างน้อย 5 หมื่นตันต่อปีถูกทิ้งลงทะเล แหล่งที่มาของขยะทะเล คือ ขยะจากกิจกรรมบนฝั่ง เช่น จากชุมชนจากแหล่งท่องเที่ยวชายหาด จากท่าเรือ และจากแหล่งทิ้งขยะบนฝั่ง ขยะพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้ หรือใช้เวลานานนับร้อยปีกว่าจะย่อยสลาย โดยจะแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งมักจะถูกปลา เต่า หรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ กินทำให้สัตว์น้ำเจ็บป่วยและเสียชีวิตในที่สุด จากปัญหาดังกล่าวผู้ประดิษฐ์จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาขยะในทะเล โดยการออกแบบนวัตกรรม “เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้ เทคโนโลยีนาโน” โดยออกแบบเป็นทุ่นลอยระดับผิวน้ำ ซึ่งสามารถกักเก็บขยะ และที่สำคัญคือมีการนำเทคโนโลยีนาโนมาช่วย ได้แก่ การเคลือบผิวด้วยอนุภาคนาโน” (Nanoparticle Surface Coating) ของโซล่าเซลล์และวัสดุเพื่อป้องกันสนิมและมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น
ขั้นตอนการประดิษฐ์
ผลการทดลอง
1. เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโนมีประสิทธิภาพในระดับสูง โดยสามารถกักเก็บขยะได้และสามารถแจ้งเตือนเมื่อขยะเต็มร้อย
2. ชุมชนรอบเกาะลำพู และ ชุมชนเกาะเต่า ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมากที่สุด
สรุปรายละเอียดผลงาน
การต่อยอดนวัตกรรม
ผลงาน: Nano-composite bags ถุงนาโนคอมโพสิตยางพาราเสริมแรงด้วยนาโนเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอ (Pomeler Bag)
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
เนื่องจากในปัจจุบันมีร้านค้าต่างๆและห้างสรรพสินค้าเพิ่มมากขึ้นมากมาย ซึ่งร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั้งหมดที่กล่าวนี้เมื่อซื้อสินค้าเพื่อบริโภคแล้ว สิ่งที่จะได้รับมาด้วยก็คือ ถุงพลาสติก
เมื่อใช้งานแล้วจะถูกทิ้งตามถังขยะทำให้มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีส้มโอทับทิมสยามเป็นสินค้ายอดนิยมทำให้เหลือเปลือกทิ้งจำนวนมากรวมไปถึงราคายางพาราในภาคใต้ที่ต่ำลงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดการเพิ่มมูลค่ายางพาราโดยนำมาประยุกต์ร่วมกับเปลือกส้มโอที่นำมาสกัดเป็นนาโนเซลลูโลสเพื่อทำกระเป๋าถือที่ใช้พกพาได้โดยใช้ยางพาราเป็นตัวหลักเสริมแรงด้วยนาโนเซลลูโลสให้มีคุณสมบัติที่ แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
วิธีการทำ
สกัดนาโนเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอโดยใช้กระบวนการทางกรดเเละเบสเพื่อสกัด จากนั้นนำมาผสมกับยางพาราเพื่อเป็นการเสริมเเรงยางพาราร่วมกับเส้นใยนาโนเซลลูโลส โดยใช้วิธีการ Cross linked ด้วยสารเคมี เเล้วจึงนำมาขึ้นรูปเป็นกระเป๋ารูปทรงกระบอกเเล้วใช้ผ้าบาติกเป็นวัสดุรองอยู่ภายในวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นใช้สายกระเป๋าเเบบปรับได้ต่อกับกระเป๋าก็จะได้ Pomeler Bag ที่เสร็จสมบูรณ์
ผลการทดลอง
Pomeler Bag มีรูปร่างลักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีสายกระเป๋าเเบบปรับได้โดยภายนอกจะเป็นวัสดุคอมโพสิตยางพาราเสริมเเรงด้วยนาโนเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอเเละภายในเป็นผ้าบาติกที่มีสายหูรูดเพื่อปิดกระเป๋าได้ ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับกระเป๋าตามปกติสามารถใส่วัสดุหรือสิ่งของตามปกติได้เเต่ไม่เหมาะกับการใส่อาหาร สามารถรับน้ำหนักได้มาก เเละมีคุณสมบัติกันน้ำ
งานประชาสัมพันธ์
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ