การพัฒนาชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

Introduction:

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

 

โดยบทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวอย่างการพัฒนาชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

 

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นหนึ่งตัวอย่างการพัฒนาชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากการดำเนินงานของ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพผลผลิตฟักทองพื้นเมืองที่ไม่สม่ำเสมอทั้งรูปทรง รสชาติและเนื้อสัมผัส การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชท้องถิ่น การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิต นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง

กลุ่มเกษตรกรฯ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการคัดเลือกสายพันธุ์ฟักทอง การผลิตตามมาตรฐานอินทรีย์ ตลอดจนการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์ “ฟักทองไข่เน่า” พืชมรดกตกทอดของชุมชนโดยเกษตรกรในชุมชน สู่การรับรองเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นของจังหวัดน่าน ทำให้ได้สายพันธุ์ฟักทองไข่เน่าที่มีสีเขียวปนเหลือง มีความสม่ำเสมอของรูปทรงผล มีรสชาติหวาน มัน อร่อยและเนื้อเหนียวหนึบ มีกระบวนการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐาน สร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนโดยเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ฟักทองไข่เน่าไว้ใช้เองและกระจายเมล็ดพันธุ์ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกฟักทองที่สนใจ

กลุ่มเกษตรกรฯ ได้ส่งผลผลิตฟักทองสดจำหน่ายซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ฟักทองตัดแต่ง ฟักทองผง ข้าวเกรียบฟักทอง ฟักทองพร้อมปรุง ส่วนของฟักทองที่เหลือ เช่น เมล็ดฟักทองที่เหลือจากการตัดแต่ง ได้นำมาสกัดเป็น “น้ำมันเมล็ดฟักทอง” ชิ้นส่วนที่เหลืออื่นๆ หรือฟักทองที่เสียหายในแปลงและเศษเหลือจากการตัดแต่งนำไปหมักด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีและโคต่อไป ทำให้เป็นชุมชนที่มีระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ (Zero waste agriculture) อย่างแท้จริง

นอกจากตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย สท. และภาคีพันธมิตร ยังได้มุ่งหน้าถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนอื่นๆ สอดคล้องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เช่น

  1. การถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อเพิ่มประชากรปูนา สร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สามารถสร้างรายได้การเลี้ยงปูนาให้ชาวบ้านจากการจำหน่ายปูนารวมถึงการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
  2. ยกระดับการผลิตสมุนไพรอินทรีย์อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานโดยชุมชน ตั้งแต่การผลิต แปรรูป และเชื่อมโยงสู่ตลาด ดังที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เครือข่ายสินธุ์แพรทอง จ.พัทลุง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

  1. “ไข่เน่า” ฟักทองพื้นเมือง หัวเรือเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
  2. สถานีปูนาเมืองบัว: เรียนรู้เพื่อรักษาและต่อยอด

 

รวมรายการวิดิโอนิทรรศการ

ฟักทองไข่เน่าของดี จ น่าน
ฟักทองไข่เน่าของดี จ น่าน
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
07:55
AGRITEC Live เคลียร์ ชัด ทุกคำตอบ “ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง”
AGRITEC Live เคลียร์ ชัด ทุกคำตอบ “ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง”
01:55:19
AGRITEC Live “นักปรับปรุงพันธุ์พืช” เขาทำอะไรกัน?
AGRITEC Live “นักปรับปรุงพันธุ์พืช” เขาทำอะไรกัน?
01:32:27

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :