BCG Economy Model
BCG Economy Model คือ รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของประเทศ เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคม
โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3 มิติ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวไปพร้อมกัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตควบคู่กับการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
- เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรชีวภาพซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญของประเทศ
- เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำ และลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุดในทุกภาคส่วน
- เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความท้าทายในการดำเนินงานของ สวทช. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างองค์ความรู้และบูรณาการผลงานวิจัยศาสตร์ต่างๆ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG และแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Strategy Plan)
มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน BCG Economy Model
และ National AI Strategy Plan
National Biobank of Thailand (NBT)
ให้บริการอนุรักษ์และเก็บรักษาชีววัสดุ (Genetic and Material Resources) และสารพันธุกรรม (Living Materials’ Genetic) เพื่อการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงเพื่อความมั่งคงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
เรียนรู้เพิ่มเติม
National Omics Center (NOC)
ให้บริการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโอมิกส์แบบครบวงจรตามมาตรฐานระดับสากล
เรียนรู้เพิ่มเติม
NSTDA Supercomputer Center (ThaiSC)
ให้บริการทรัพยากรคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เพื่อการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เรียนรู้เพิ่มเติม
Technology and Informatics Institute for Sustainability (TIIS)
ให้บริการการประเมินวัฏจักรชีวิตตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุน Thailand’s Green Growth Strategy
เรียนรู้เพิ่มเติม
Thai Microelectronics Center (TMEC)
ให้บริการการพัฒนาเซนเซอร์ขั้นสูง อาทิ MEMS Platform, ISFET Platform
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
- ให้บริการการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานสากล เพื่อการจำหน่าย นำเข้า และส่งออก
- ให้บริการการสอบเทียบแบตเตอรี่ลิเทียมเครื่องประจุ ให้บริการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า
- ให้บริการทดสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์การบิน
- ให้บริการทดสอบสมาร์ตอิเล็กทรอนิกส์และ IoT
- ให้บริการทดสอบระบบรางและขบวนรถ
ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NCTC)
ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามมาตรฐานสากล ด้วยห้องปฏิบัติการ 4 กลุ่ม คือ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางชีวภาพ และห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านและเซรามิกอุตสาหกรรม (CTEC)
ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ในบ้าน และเซรามิก ตามมาตรฐานสากล (ISO/IEC 17025) และบริการวิเคราะห์โลหะหนักในพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)
ให้บริการคำปรึกษา วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านการออกแบบและวิศวกรรม เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและการบำรุงรักษา
เรียนรู้เพิ่มเติม
ศูนย์ทดสอบทางพิษวิทยาและชีววิทยา
ให้บริการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และสารสกัดสมุนไพร (OECD GLP) รวมถึงการทดสอบทางด้านพิษวิทยาและชีววิวทยาที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
เรียนรู้เพิ่มเติม
ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งใหม่บนพื้นที่ EECi มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง มีเป้าหมายสำคัญในการช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน