ชุดระบบส่งกำลัง – หัวใจสำคัญของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

09:00 
- 11:30 น.
Power,Cable,Pump,Plug,In,Charging,Power,To,Electric,Vehicle

วิทยากร

นายณัฏฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร, ศาสตราจารย์ ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล, ดร.ดวิษ กิระชัยวนิช, นายวรวุฒิ ก่อวงศ์พานิชย์, ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย, ดร.สุระ ลาภทวี and ดร.มานพ มาสมทบ

ด้วยนโยบายการส่งเสริมให้เกิดการใช้และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยโดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้เสนอให้ประเทศไทยมีการผลิตและจดทะเบียนยานยนต์ทั้งหมดเป็นยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2035 (นโยบาย ZEV@2035) เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ที่ใช้พลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้โอกาสที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน พัฒนาและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศได้มากกว่า 100,000 ล้านบาท 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้าโลก ยังคงเป็นการเน้นย้ำการเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สำคัญของโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจากยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้านั้น จุดเปลี่ยนสำคัญคือการเปลี่ยนจากชิ้นส่วนทางกลชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นชิ้นส่วนระบบหรือโมดูลมากขึ้น อาทิ ชุดระบบขับเคลื่อน (Drivetrain) ชุดแบตเตอรี่ (Battery pack) และชุดควบคุมยานยนต์ (Vehicle Control Unit, VCU) เป็นต้น ด้วยเหตุผลนี้เอง หากอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ต้องการจะเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าโลก จึงจำเป็นที่จะต้องมีขีดความสามารภในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในระดับโมดูล 

ที่อุตสาหกรรมทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ คือ ชุดระบบส่งกำลัง (Powertrain System) ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ทางไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ ชุดแบตเตอรี่ (Battery pack) อุปกรณ์แปลงกระแส (DC-AC Converter) มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน (Electric Motor) อุปกรณ์ประจุไฟฟ้าบนรถ (On-board charger) ระบบจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management System, BMS) อุปกรณ์แปลงแรงดัน (DC-DC Converter) ชุดจัดการอุณหภูมิ (Thermal Management System) หรือ อุปกรณ์ควบคุมยานยนต์ (Body (Vehicle) Control Unit, VCU) เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งมีมูลค่าสูง และมีความสำคัญสูงในการออกแบบและผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 

การสัมมนาในหัวข้อ “ชุดระบบส่งกำลัง – หัวใจสำคัญของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้พื้นฐานในการออกแบบและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ในกลุ่มของชุดระบบส่งกำลัง (Powertrain System) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้เข้าใจองค์ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีการออกแบบและผลิต นำไปต่อยอดสู่การออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง ภายใต้โอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า  นอกจากองค์ความรู้ในการออกแบบและพัฒนาชุดระบบส่งกำลังสำหรับยายนต์ไฟฟ้าแล้ว เพื่อให้เกิดการส่งเสริมให้สามารถออกผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์แข่งขันกับอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศได้ ในงานสัมมนายังมีการให้ความรู้ในด้านการทดสอบ ทั้งทดสอบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านประสิทธิภาพ สมรรถนะ และความปลอดภัย และทดสอบเพื่อรับรองสำหรับจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าต่อไป

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

09.00 – 09.10 น.

กล่าวต้อนรับ
โดย นายณัฏฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร 
ที่ปรึกษาอาวุโส โครงการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช.

09.10 – 09.40 น.

เทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่
โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล 
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

09.40 – 10.20 น.

การออกแบบเลือกใช้อุปกรณ์ในชุดดัดแปลงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง EV Conversion
โดย ดร.ดวิษ กิระชัยวนิช 
นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.

10.20 – 11.00 น.

มาตรฐาน การทดสอบ และรับรองชุดส่งกำลังสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
โดย นายวรวุฒิ ก่อวงศ์พานิชย์
ผู้อำนวยการฝ่ายทดสอบและวิศวกรรม สถาบันยานยนต์

11.00 – 11.30 น.

เสวนาหัวข้อแนวทางการออกแบบและพัฒนาชิ้นส่วนชุดระบบส่งกำลังสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดย 

  1. ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย 
    คณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต
    หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ (บพข.)
  2. ดร.สุระ ลาภทวี 
    ผู้จัดการส่วนงานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าหน่วยงานธุรกิจนวัตกรรม
    บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด
  3. ดร.มานพ มาสมทบ 
    นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.

ดำเนินรายการโดย 

นายสรวิศ วณิชอนุกูล
ฝ่ายบริหารงานวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช.

นางสาวบงกชพร ดวงสีแก้ว
ฝ่ายบริหารงานวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช.

 

 

รวมรายการวิดิโอ

เกี่ยวกับวิทยากร

นายณัฏฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร
ที่ปรึกษาอาวุโส โครงการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ at ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช.
ศาสตราจารย์ ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล
คณะบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) at มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ดร.ดวิษ กิระชัยวนิช
นักวิจัย at ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
นายวรวุฒิ ก่อวงศ์พานิชย์
ผู้อำนวยการฝ่ายทดสอบ และวิศวกรรม at สถาบันยานยนต์
ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย
คณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต at หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ดร.สุระ ลาภทวี
ผู้จัดการส่วนงานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า หน่วยงานธุรกิจนวัตกรรม at บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด
ดร.มานพ มาสมทบ
นักวิจัย at ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.

สัมมนาอื่นๆ ​: