จีโนมิกส์ประเทศไทย: อนาคตของการแพทย์จีโนมิกส์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีโนม

09:00 
- 12:00 น.
feature-image

วิทยากร

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม, ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์, นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์, ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา, รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์, รศ.นพ.ศรัญญู ชูศรี, รศ.พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ and ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจีโนมิกส์หรือการศึกษาจีโนมมนุษย์ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่ถูกลงอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้จีโนมิกส์ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายสาขา

อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพ มานุษยวิทยา และอาชญาวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในทางการแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) เป็นแนวทางการรักษาสมัยใหม่ที่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ แม่นยำ สร้างผลกระทบสูงทั้งทางสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาที่ตรงจุดกับผู้ป่วยได้ทันท่วงที ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อาทิ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคทางพันธุกรรมและโรคที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ ความรู้ทางด้านจีโนมิกส์เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรควินิจฉัยยากที่เดิมไม่สามารถหาสาเหตุได้ สร้างองค์ความรู้ที่สำคัญทั้งในด้านกลไกการเกิดโรค การวิจัยและพัฒนายาแบบมุ่งเป้า การค้นหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการคัดเลือกยา การออกแบบการรักษา หรือการเฝ้าระวังความรุนแรงของโรค ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยการแพทย์จีโนมิกส์ในประเทศไทยมีบริการไม่มากนักและส่วนใหญ่ยังไม่ถูกบรรจุให้เป็นสิทธิประโยชน์ที่สามารถเบิกจ่ายได้ ทำให้คนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง

ปี 2562 รัฐบาลเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงทำให้เกิดแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย พ.ศ.2563-2567 ขึ้น โดยถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำการแพทย์จีโนมิกส์มาเชื่อมโยงกับระบบสาธารณสุขของประเทศ สร้างเครือข่ายการวิจัยด้านการแพทย์จีโนมิกส์ที่เข้มแข็งและเกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ในการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ได้แก่ ศูนย์ทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและศูนย์ข้อมูลจีโนมแห่งชาติ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยที่ตอบโจทย์ปัญหาของประเทศในด้านสุขภาพเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์นี้ได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เกิดการพัฒนาเชิงนโยบาย ผลักดันให้การบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์เข้าไปสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และผลักดันประเทศเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน กระตุ้นให้เกิดการลงทุน และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

จีโนมิกส์ประเทศไทย
9.00 – 9.20 น.

จีโนมิกส์ประเทศไทย : สถานภาพปัจจุบันและทิศทางอนาคต 
Genomics Thailand: Present and Future 
โดย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม 
อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

9.20 – 9.40 น.

มุมมองอนาคตของการแพทย์จีโนมิกส์ 
A Futuristic Perspective on Genomics Medicine
โดย ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9.40 – 10.00 น.

ธุรกิจจีโนมิกส์และแนวโน้มด้านการลงทุนในประเทศไทย
Genomics Industry Forward and Investment Trends in Thailand
โดย นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ 
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

10.00 – 10.20 น.

ตอบโจทย์การวิจัยและธุรกิจจีโนมด้วย “computational genomics Platform”
Research and Business Enabler as a National Computational Genomics Platform 
โดย ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

10.20 – 10.30 น. พักเบรก 10 นาที
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์
10.30 – 10.50 น.

จีโนมิกส์กับงานทางด้านมานุษยวิทยาและพันธุศาสตร์ประชากร
Applications of Genomics to Anthropology and Population Genetics
โดย รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ 
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10.50 – 11.10 น.

การแพทย์จีโนมิกส์กับการแก้ปัญหาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
Genomics Medicine for Infectious Disease Control in Hospitals
โดย รศ.นพ.ศรัญญู ชูศรี 
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11.10 – 11.40 น.

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ในโรคติดเชื้อ 
Applications of Genomics Technology in Infectious Diseases
โดย รศ.พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ 
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

11.40 – 12.00 น.

บริการทางการแพทย์จีโนมิกส์เพื่อการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของคนไทย
Genomics Medical Services for Disease Prevention and Health
โดย ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ 
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเหตุ ห้องประชุมออนไลน์จะเปิดระบบ 15 นาทีก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

เกี่ยวกับวิทยากร

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม
อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์
คณะวิทยาศาสตร์ at มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รศ.นพ.ศรัญญู ชูศรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รศ.พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สัมมนาอื่นๆ ​: