28 มีนาคม 2567

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเวชสำอางด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มการผลิตเวชสำอางและส่วนผสมฟังก์ชัน

Driving industry through production platform technologies of cosmeceuticals and functional ingredients

วิทยากร
  • ดร.กัลยา อุดมวิทิต
  • นางสาวจุฑาทิพย์ พันธ์รูปท้าว
  • ดร. ธนธรรศ สนธีระ
  • ดร. วันนิตา กลิ่นงาม
  • คุณพินิจ เขื่อนสุวงศ์
  • คุณภานุวัฒน์ สงวนพุฒิจันทร์
  • ดร. ธงชัย กูบโคกกรวด
  • ดร.จันทร์จิรา ตั้งสันทัศน์กุล

ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงโดยมี สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ กว่า 33,534 ชนิด
ซึ่งนับเป็นแหล่งทรัพยากรและเป็นรากฐานวัตถุดิบที่สำคัญ ที่ช่วยส่งเสริมความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของประเทศไทยสำหรับการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ในตลาดโลกมีมูลค่านับล้านล้านบาทและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่า 40% เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคทั้งเพศชายและเพศหญิงในทุกช่วงวัยให้ความสำคัญในการดูแลตัวมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสในการขยายธุรกิจของ
กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามโดยเฉพาะกลุ่มเวชสำอางหรือ Cosmeceuticals อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญ
ที่ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางขยายตัวอย่างรวดเร็ว คือ ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งต้องการผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ปลอดจากสารเคมี รวมถึงมีมาตรฐานหรืองานวิจัยรองรับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ 

สวทช. โดย ‘FoodSERP’ เป็นแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชันที่มีเทคโนโลยีแพลตฟอร์มการผลิตเวชสำอางและส่วนผสมฟังก์ชัน โดยมุ่งใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพ
ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยเป็นกลไกช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเวชสำอางอย่างยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มชั้นนำที่ได้มาตรฐานสากล ASEAN Cosmetic GMP ผ่านการบริการการผลิตอนุภาคนาโนและผลิตภัณฑ์สูตรตำหรับ รวมถึงบริการวิเคราะห์ทดสอบทั้งทางด้านกายภาพ จุลชีวะ และการทดสอบความคงตัวเพื่อกำหนดอายุของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยที่ผ่านมามีบริษัทเอกชน จำนวนมากได้ใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มการผลิตเวชสำอางและส่วนผสมฟังก์ชันสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตทางการเกษตรและทรัพยากรชีวภาพของประเทศ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในเวทีโลก

กำหนดการสัมมนา
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.45 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย
นางสาวจุฑาทิพย์ พันธ์รูปท้าว
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.45 – 14.15 น. การพัฒนาและนวัตกรรมเครื่องสำอางโดยฐานทรัพยากรชีวภาพของประเทศ

โดย ดร. ธนธรรศ สนธีระ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเนเชอรัล โปรดักซ์ จำกัด

14.15 – 14.45 น. Unveiling Efficacy: Harnessing Human Ex Vivo Skin Models for Active Ingredients and Cosmeceutical Products

โดย ดร. วันนิตา กลิ่นงาม

นักวิจัยทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ   ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

14.45 – 15.00 น. พักตามอัธยาศัย
15.00 – 15.45 น. เสวนา “ประสบการณ์วิจัยและพัฒนาการเพิ่มศักยภาพสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมเวชสำอาง”

ผู้ร่วมเสวนา

  • คุณพินิจ เขื่อนสุวงศ์    กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด
  • คุณภานุวัฒน์ สงวนพุฒิจันทร์    กรรมการบริหาร บริษัท เดอะ เฮอร์บิเทจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัf
  • ดร.จันทร์จิรา ตั้งสันทัศน์กุล   Sales & Product specialist บริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด

ผู้ดำเนินการเสวนา
ดร. ธงชัย กูบโคกกรวด
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.45 – 16.00 น. ถาม – ตอบ
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นางสาวจุฑาทิพย์ พันธ์รูปท้าว
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ดร. ธนธรรศ สนธีระ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเนเชอรัล โปรดักซ์ จำกัด
ดร. วันนิตา กลิ่นงาม
นักวิจัยทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ   ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณพินิจ เขื่อนสุวงศ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด
คุณภานุวัฒน์ สงวนพุฒิจันทร์
กรรมการบริหาร บริษัท เดอะ เฮอร์บิเทจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ดร.จันทร์จิรา ตั้งสันทัศน์กุล
Sales & Product specialist บริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด
ดร. ธงชัย กูบโคกกรวด
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ