ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้
ความเป็นมา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเริ่มดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ในปี 2541 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความ สนใจ และถนัด ต่อมาในปี 2543 ได้ขยายกลุ่มเป้าหมายโดยจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ทั่วไปในรูปแบบโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท และงานโครงการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ (Enrichment program) ทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องด้วยรูปแบบของกิจกรรมค่ายสามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมจากในชั้นเรียนและสามารถทำได้หลากหลายยืดหยุ่นตามความสนใจและถนัดของเยาวชน
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ในนามโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร และเปิดตัวขึ้นในปี 2551 เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ คิดค้น ค้นคว้า และร่วมทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย และเครือข่ายอาจารย์มหาวิทยาลัยร่วมจัดและให้การดูแล เพื่อให้เกิดระบบบริหารจัดการและพัฒนากิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาในปี 2554 คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ได้มีมติจัดตั้งฝ่ายบริหารค่ายวิทยาศาสตร์ สายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนในรูปแบบกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และฝึกอบรม โดยกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับเยาวชนนอกเหนือจากการเรียนในระบบโรงเรียน เพื่อตอบสนองศักยภาพและ ความสนใจที่หลากหลายของเยาวชน
ในปี 2562 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและชื่อฝ่ายเป็นฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ โดยมี ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแลสายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในปี 2566 ได้มีการเปลี่ยนผู้บริหาร ซึ่ง ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแลสายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
- นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนงานวิจัยของ สวทช. ไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนแบบบูรณาการ เช่น เพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน พัฒนาเป็นเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับโรงเรียน
- เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
วิสัยทัศน์และปรัชญาดำเนินการ
ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างมีความสุขด้วยสาระทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
พันธกิจของฝ่าย
1. พัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้จะพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ โดยมีความเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันให้มีความสอดคล้องกับงานวิจัยและพัฒนาที่ สวทช. สนับสนุนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามศักยภาพ ความสนใจและความถนัดของแต่ละกลุ่ม ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้และการประเมินผลสำหรับผู้สอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
2. ฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ บริหารจัดการการฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของครู โดยส่งเสริมและเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ให้มีความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรการเรียนการสอนพื้นฐานกับงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรและสร้างเครือข่ายครูที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ได้รับการอบรมให้เป็นครูแกนนำในเรื่องนั้น ๆ ได้
3. จัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้บริหารจัดการการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กเยาวชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บรรยายพิเศษ ฝึกอบรม กิจกรรมพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชน
4. พัฒนาเยาวชนและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ระดับนานาชาติ
บริหารจัดการโครงการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เพื่อสนับสนุนนิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยและ/หรือการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
โครงสร้างดำเนินการของฝ่าย
ระดับนโยบาย ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สังกัดอยู่ในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคมพัฒนากำลังคน ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาในการกำกับดูแล และการให้คำแนะนำแนวทางดำเนินงานของฝ่าย และนางฤทัย จงสฤษดิ์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้
ระดับดำเนินงาน ประกอบด้วย บุคลากรในฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ มีจำนวน 12 คน อยู่ในสายงานวิชาการ 12 คน ดังนี้
1. | นางฤทัย | จงสฤษดิ์ | ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส | |
2. | นางสาวสุปราณี | สิทธิไพโรจน์สกุล | นักวิชาการอาวุโส | |
3. | นางสาวพิรุณรัตน์ | ปุณยลิขิต | นักวิชาการอาวุโส | |
4. | นางสาวกรกนก | จงสูงเนิน | นักวิชาการอาวุโส | |
5. | นางสาวปานกมล | ศรสุวรรณ | นักวิชาการอาวุโส | |
6. | นางสาวโสภิดา | พนานุสรณ์ | ผู้ประสานงานอาวุโส | |
7. | นางสาวปัณรสี | สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | นักวิชาการ | |
8. | นายเอกลักษณ์ | ตั้งรัตนาวลี | ผู้ประสานงาน | |
9. | นางสาววิชชานันท์ | งามถิ่น | นักวิชาการ | |
10. | นางสาวจิดากาญจน์ | สีหาราช | นักวิชาการ | |
11. | นางสาวกนกพรรณ | เสลา | นักวิชาการ | |
12. | นางสาวนฤมล | สุขเกษม | นักวิชาการ |
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย
โครงการค่ายวิทยาศาสตร์
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ
โครงการการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา (LINDAU)
โครงการ Global Young Scientists Summit (GYSS)
โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี (DESY)