ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้

ความเป็นมา

            สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเริ่มดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ในปี 2541   เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความ สนใจ และถนัด ต่อมาในปี 2543 ได้ขยายกลุ่มเป้าหมายโดยจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ทั่วไปในรูปแบบโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท และงานโครงการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ (Enrichment program) ทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องด้วยรูปแบบของกิจกรรมค่ายสามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมจากในชั้นเรียนและสามารถทำได้หลากหลายยืดหยุ่นตามความสนใจและถนัดของเยาวชน

            บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ในนามโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร และเปิดตัวขึ้นในปี 2551 เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ คิดค้น ค้นคว้า และร่วมทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย และเครือข่ายอาจารย์มหาวิทยาลัยร่วมจัดและให้การดูแล เพื่อให้เกิดระบบบริหารจัดการและพัฒนากิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาในปี 2554 คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ได้มีมติจัดตั้งฝ่ายบริหารค่ายวิทยาศาสตร์ สายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนในรูปแบบกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และฝึกอบรม โดยกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับเยาวชนนอกเหนือจากการเรียนในระบบโรงเรียน เพื่อตอบสนองศักยภาพและ   ความสนใจที่หลากหลายของเยาวชน

            ในปี 2562 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและชื่อฝ่ายเป็นฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ โดยมี       ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.อ้อมใจ      ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแลสายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            ในปี 2566 ได้มีการเปลี่ยนผู้บริหาร ซึ่ง ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแลสายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

  • นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนงานวิจัยของ สวทช. ไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนแบบบูรณาการ เช่น เพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน พัฒนาเป็นเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับโรงเรียน
  • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น

วิสัยทัศน์และปรัชญาดำเนินการ
ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างมีความสุขด้วยสาระทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ 

พันธกิจของฝ่าย

1. พัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้จะพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ โดยมีความเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันให้มีความสอดคล้องกับงานวิจัยและพัฒนาที่ สวทช. สนับสนุนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามศักยภาพ ความสนใจและความถนัดของแต่ละกลุ่ม ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้และการประเมินผลสำหรับผู้สอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

2. ฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ บริหารจัดการการฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของครู โดยส่งเสริมและเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ให้มีความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรการเรียนการสอนพื้นฐานกับงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรและสร้างเครือข่ายครูที่มีความรู้              ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ได้รับการอบรมให้เป็นครูแกนนำในเรื่องนั้น ๆ ได้

3. จัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้บริหารจัดการการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กเยาวชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บรรยายพิเศษ ฝึกอบรม กิจกรรมพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชน

4. พัฒนาเยาวชนและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ระดับนานาชาติ
บริหารจัดการโครงการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เพื่อสนับสนุนนิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยและ/หรือการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

โครงสร้างดำเนินการของฝ่าย

ระดับนโยบาย  ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สังกัดอยู่ในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคมพัฒนากำลังคน ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาในการกำกับดูแล และการให้คำแนะนำแนวทางดำเนินงานของฝ่าย และนางฤทัย จงสฤษดิ์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้

ระดับดำเนินงาน ประกอบด้วย บุคลากรในฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ มีจำนวน  15 คน อยู่ในสายงานวิชาการ  15  คน ดังนี้

1.
นางฤทัย
จงสฤษดิ์
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส 
2.
นางสาวสุปราณี
สิทธิไพโรจน์สกุล
นักวิชาการอาวุโส
 
3.
นางสาวพิรุณรัตน์
ปุณยลิขิต
นักวิชาการอาวุโส
 
4.
นางสาวกรกนก
จงสูงเนิน
นักวิชาการอาวุโส
 
5.
นางสาวปานกมล
ศรสุวรรณ    
นักวิชาการอาวุโส
 
6.นางสาวโสภิดาพนานุสรณ์ ผู้ประสานงานอาวุโส 
7.
นางสาวปัณรสี 
สนิทวงศ์ ณ อยุธยา                 
นักวิชาการ
 
8.
นายเอกลักษณ์
ตั้งรัตนาวลี
ผู้ประสานงาน
 
9.
นางสาววิชชานันท์
งามถิ่น
นักวิชาการ 
 
10.
นางสาวจิดากาญจน์
สีหาราช
นักวิชาการ
 
11.
นางสาววสุ
ทัพพะรังสี
นักวิชาการ
 
12.
นางสาวกนกพรรณ
เสลา
นักวิชาการ
 
13.
นางสาวนฤมล
สุขเกษม
นักวิชาการ
 
14.
นางสาวสลิลรัตน์
ประสพฤกษ์
นักวิชาการ
 
15.
นายอภิรัตน์   ฐิติมั่นนักวิชาการ 

 

ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้

 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
 โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย
 โครงการค่ายวิทยาศาสตร์
 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
 โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)
  โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ

 โครงการการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา (LINDAU)
 โครงการ Global Young Scientists Summit (GYSS)
 โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี (DESY)