Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Parabolic Flight
  • การทดลองทางวิทยาศาสตร์บนเที่ยวบินแรงโน้มถ่วงต่ำครั้งแรกของเด็กไทย
  • Parabolic Flight

การทดลองทางวิทยาศาสตร์บนเที่ยวบินแรงโน้มถ่วงต่ำครั้งแรกของเด็กไทย

NSTDA SPACE Education 29/06/2020

          เมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นครั้งแรกของเด็กไทยที่ได้ทดลองวิทยาศาสตร์บนเที่ยวบินแรงโน้มถ่วงต่ำ จำลองสภาวะใกล้เคียงกับบนอวกาศ ก่อให้เกิดความรู้ทั้งต่อตนเองและสังคม โดย น.ส.อาภาภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ด.ญ.สรัลภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ จากโรงเรียนนานาชาติเซนต์จอห์น สองพี่น้องเด็กไทย ชนะการประกวดโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.

          ทั้งนี้มีทีมที่เข้าร่วมประกวดจากมหาวิทยาลัย จำนวน 7 ทีม หลังจากที่ชนะการประกวดดังกล่าว น.ส.อาภาภรณ์ และน้องสาวได้เป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยไปทดลอง “ผลการแตกตัวของยาในสภาพไร้น้ำหนัก” บนเครื่องบิน ณ เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม พ.ศ. 2550

          ส่วนวิธีการสร้างสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำบนเครื่องบินทำได้โดยให้เครื่องบิน ทำการบินขึ้นสู่ท้องฟ้าในลักษณะพาราโบลา จำนวน 10 รอบ เพื่อให้เกิดสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำรอบละประมาณ 20 วินาที ผู้ทดลองทั้งสองสลับกันขึ้นเครื่องบินเพื่อทดลองกันคนละ 1 วัน โดยเตรียมหลอดทดลองใส่น้ำไว้ครึ่งหนึ่ง วางเม็ดยาไว้ที่ปากหลอดทดลอง เมื่อเกิดสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ ผู้ทดลองจะกดกระบอกยาให้เม็ดยาไหลเข้าสู่กระบอกยาเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลออกมาจากหลอดทดลอง ซึ่งผลสรุปจากการทดลองพบว่าการแตกตัวของยาที่พื้นโลกดีกว่าในอวกาศ


ดาวน์โหลด Presentation สรุปผลการทดลอง

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: JAXA NSTDA Parabolic Flight การทดลอง สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สวทช

Continue Reading

Previous: รู้จักกับ 5 ส่วนประกอบหลักของ “โมดูลคิโบ”
Next: “4 เด็กไทย วิจัย “สาหร่ายหางกระรอก” บนเที่ยวบินไร้น้ำหนัก”

Related Stories

ทำเนียบรุ่นเยาวชนในโครงการ
  • Parabolic Flight

ทำเนียบรุ่นเยาวชนในโครงการ

07/10/2022
การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของสาหร่าย Chlamydomonas reinhardtii
  • Parabolic Flight

การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของสาหร่าย Chlamydomonas reinhardtii

29/06/2020
“4 เด็กไทย วิจัย “สาหร่ายหางกระรอก” บนเที่ยวบินไร้น้ำหนัก”
  • Parabolic Flight

“4 เด็กไทย วิจัย “สาหร่ายหางกระรอก” บนเที่ยวบินไร้น้ำหนัก”

29/06/2020

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy