Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Hubble Cast
  • ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 18: ฮับเบิลตรวจพบสนามแม่เหล็กในกาแล็กซี
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 18: ฮับเบิลตรวจพบสนามแม่เหล็กในกาแล็กซี

NSTDA SPACE Education 17/08/2020

The behemoth galaxy NGC 1275, also known as Perseus A

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ช่วยไขปริศนาที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้เปิดเผยสายใยขนาดใหญ่ที่สลับซับซ้อน ซึ่งเกิดจากสนามแม่เหล็กความเข้มสูง อยู่บริเวณรอบๆ กาแล็กซีที่มีปฏิกิริยารุนแรง นั่นคือ NGC 1275 เป็นภาพที่เห็นสายใยสวยงามขนาดมหึมา ซึ่งเกิดจากสนามแม่เหล็กของกาแล็กซี

มันไม่ใช่สสารมืด แต่มันคือสนามแม่เหล็ก มันมีอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา แต่ทุกคนไม่รู้สึกอะไรเลย เรารู้ว่าโลกมีสนามแม่เหล็ก โดยรู้ได้จากเข็มทิศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้

สนามแม่เหล็กไม่ได้มีเฉพาะบนโลก แต่มีทั่วไปในเอกภพ

มาดูดวงอาทิตย์ของเรา สนามแม่เหล็กเพียงส่วนน้อยจากดวงอาทิตย์ก็สามารถรบกวนการสื่อสารวิทยุบนโลกได้ รบกวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ การฟังวิทยุ เป็นต้น

ในบริเวณกลุ่มดาว เปอร์เซอุส เราพบ กระจุกกาแล็กซีในเปอร์เซอุส และมี NGC 1275 อยู่ตรงศูนย์กลาง มันคือกาแล็กซีทรงรีขนาดยักษ์ เป็นภาพที่น่าตื่นตามาก มีลวดลายของก๊าซที่ก่อตัวเป็นสายใยยาวๆ ยืดไกลออกนอกกาแล็กซีไป และมีรังสีเอกซ์ช่วยผลักดันก๊าซนี้ให้กระจายทั่วไปในกระจุกกาแล็กซีนี้

นี่คือกาแล็กซีที่มีปฏิกิริยารุนแรง มีหลุมดำมวลมหาศาลอยู่ที่ศูนย์กลาง ซึ่งพัดพาฟองของสสารออกมาครอบคลุมก๊าซที่กระจายอยู่อีกชั้นหนึ่ง

ภาพของกล้องฮับเบิลช่วยให้ทีมนักดาราศาสตร์ซึ่งนำโดย แอนดี เฟเบียน จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร เป็นครั้งแรกที่ได้ศึกษาเส้นใยของก๊าซแต่ละเส้น ที่มารวมเป็นสายใยยาวๆ นี้ได้

ก๊าซในเส้นใยเพียงเส้นเดียวนี้ มีมวลมากเป็นล้านเท่าของดวงอาทิตย์ เส้นใยกว้างประมาณ 200 ปีแสง ซึ่งเป็นแนวที่ตรงมากๆ และอาจยืดยาวออกไปได้ถึง 20,000 ปีแสง สายใยทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นเมื่อก๊าซถูกผลักให้กระจายออกไปจากแกนกาแล็กซี แล้วไปรวมกับฟองสสารที่ถูกพัดพาออกมาโดยหลุมดำ

แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ สายใยทั้งหมดจะคงอยู่แบบนี้ต่อไปอีกนานกว่า 100 ล้านปี และที่นักดาราศาสตร์ยังสงสัยกันอยู่คือ เป็นไปได้อย่างไรที่โครงสร้างสายใยที่บอบบางนี้ จึงคงสภาพอยู่ในสิ่งแวดล้อมของกระจุกกาแล็กซีที่มีพลังงานสูงนี้ได้ยาวนานมาก เพราะอาจโดนความร้อนสูงมากๆ ทำให้มันระเหยแพร่กระจายหายไปอย่างรวดเร็ว มันอาจมีเกราะป้องกันความร้อนได้ แต่มันก็ควรรวมตัวกันเกิดเป็นดาวฤกษ์ใหม่นานมาแล้ว

การศึกษาเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2008 อธิบายว่า สนามแม่เหล็กทำให้โครงสร้างของแกนแต่ละเส้นใยนี้ มีแรงมากพอที่จะต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงได้ จึงป้องกันไม่ให้ก๊าซมารวมกันเป็นดาวฤกษ์ สนามแม่เหล็กจึงเป็นสิ่งที่ทำให้สายใยเหล่านี้คงอยู่แบบนี้ได้นานกว่า 100 ล้านปี

แต่ว่า ทำไมนักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับโครงสร้างของสายใยเหล่านี้

ข้อแรกก็คือ มันจะนำไปสู่การศึกษา เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับความเข้มของสนามแม่เหล็กในกาแล็กซี

และอีกข้อหนึ่ง สายใยเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์อันซับซ้อน ระหว่างหลุมดำมวลมหาศาลที่ศูนย์กลางกับมวลก๊าซที่ล้อมรอบมันอยู่ ถ้าเข้าใจความสัมพันธ์นี้ได้ จะนำไปสู่คำอธิบายข้อสงสัยที่ว่า ปฏิกิริยาจากหลุมดำขนาดใหญ่เป็นอย่างไร และจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันอย่างไรบ้าง


แปลและเรียบเรียง
อ.สิทธิชัย จันทรศิลปิน

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: NGC 1275 กาแล็กซี สนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กในกาแล็กซี ฮับเบิล

Continue Reading

Previous: ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 17: มุมมองใหม่บนฟากฟ้า
Next: อาทิตย์ทรงกลดบางส่วน วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2563

Related Stories

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล

02/02/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล

06/01/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet

03/01/2021

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy