Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Kibo-RPC
  • สวทช. ประกาศผล “คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3” ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC

สวทช. ประกาศผล “คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3” ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

NSTDA SPACE Education 22/07/2022

          (5 กรกฎาคม 2565) ห้องประชุม SD-601 อาคารสราญวิทย์ สวทช., อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) และหน่วยงานพันธมิตร ประกาศผลการแข่งขัน “โครงการ The 3rd Kibo Robot Programming Challenge” โดยทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี (Solar System [3]) คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติทางออนไลน์ กับภารกิจแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ ที่ปฏิบัติงานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ให้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งถ่ายทอดสดจากศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้

          คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สวทช. ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือแจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) และหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ร่วมกันจัดโครงการ The 3rd Kibo Robot Programming Challenge เพื่อพัฒนาขีดความรู้ความสามารถด้านสะเต็มศึกษาของเยาวชนไทย ซึ่ง สวทช. ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กับภารกิจการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee ในระบบ Simulation ซ่อมแซมสถานีอวกาศที่ชำรุดเนื่องจากอุกกาบาตพุ่งชน เพื่อคัดเลือกผู้ชนะเพียง 1 ทีมที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด (จาก 197 ทีมทั่วประเทศที่สมัครเข้าร่วมโครงการ) เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติต่อไป

          “ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมชนะเลิศได้แก่ ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี (Solar System [3]) ซึ่งมีสมาชิก 3 คน ประกอบด้วย นายภูรี เพ็ญหิรัญ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายชยพล วงศ์ภูวรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนายอัสกัส สมานสี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติ ในรายการ The 3rd Kibo Robot Programming Challenge ร่วมกับตัวแทนเยาวชนอีก 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนปาล นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน 2565”

          คุณกุลประภา กล่าวต่อว่า ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Kibou-Kijai จากสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม KIBO:BXK จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รางวัลทีมนำเสนอดีเด่น 2 ทีม ได้แก่ ทีม 404 Bug Not Found จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีม Astronut จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

          ด้าน ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. กล่าวเสริมว่า ในปีนี้มีเยาวชนสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 197 ทีม ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก แสดงให้เห็นถึงความสนใจของเยาวชนไทยที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 ทีม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 137 ทีม ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 38 ทีม  และเป็นที่น่าดีใจที่มีทีมเด็กๆ ระดับประถมศึกษาสมัครเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ด้วย จำนวน 2 ทีม ซึ่งประสบการณ์จากการเขียนโปรแกรมครั้งนี้ จะทำให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างบูรณาการ ทั้งคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และภาษาคอมพิวเตอร์ และยังได้พัฒนาทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 อย่างการคิดวิเคราะห์และการทำงานร่วมกันเป็นทีม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้และประสบการณ์ที่เยาวชนได้รับจากการแข่งขันครั้งนี้ จะมีส่วนส่งเสริมต่อยอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต

          นายทาเคฮิโระ นากามูระ (Takehiro Nakamura) ผู้อำนวยการองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ  กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีแก่เยาวชนไทยผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้ง 197 ทีมว่า รู้สึกประทับใจในการตอบรับการเข้าร่วมการแข่งขันจากทุกทีมเป็นอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลาหลายเดือนของการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการแข่งขันได้เห็นถึงความตั้งใจของทุกๆ ทีม ในการจะพัฒนาโค้ดเพื่อเอาชนะโจทย์การแข่งขันให้ดีที่สุด ภายใต้แนวคิดการทำงานจริงบนสถานีอวกาศ ขอแสดงความยินดีกับทุกๆ ทีมที่ได้รับรางวัล และขอต้อนรับทีมผู้ชนะเลิศสู่การแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติที่จะถ่ายทอดสดมาจากศูนย์อวกาศสึกุบะ (Tsukuba Space Center) ประเทศญี่ปุ่น หวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลงานและการทำงานในอนาคตต่อไป

          สำหรับทีมตัวแทนประเทศไทยจะได้เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ The 3rd Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์นานาชาติผ่านทางออนไลน์ โดยถ่ายทอดสดจาก ณ ศูนย์อวกาศสึกุบะ  ประเทศญี่ปุ่นในเดือนกันยายนปีนี้ เยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนจะสื่อสารตรงไปที่สถานีอวกาศนานาชาติซึ่งมีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันและได้สัมผัสกับศูนย์อวกาศสึกุบะซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นสถานที่หลักสำหรับปฏิบัติการโครงการวิจัยอวกาศของญี่ปุ่น และนักบินอวกาศชาวญี่ปุ่นที่มีส่วนในสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งจะได้รับการฝึกจากที่นี่

          ทั้งนี้ศูนย์อวกาศสึกุบะ ตั้งอยู่ในเมืองวิทยาศาสตร์สึกุบะ จังหวัดอิบะระกิ ที่เปิดใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 มีอาคารนิทรรศการเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมและมีแลนด์มาร์คสำคัญคือ ‘จรวด เอชทู’ จำลองขนาดเท่าของจริงตั้งอยู่ด้านหน้าอาคาร รวมทั้งแบบจำลอง ‘ยานคิโบะ โมดูล’ ขนาดเท่าของจริงแสดงอยู่ภายในอาคารด้วย

          ผู้สนใจติดตามข่าวความเคลื่อนไหวโครงการ The 3rd Kibo Robot Programming Challenge ได้ที่แฟนเพจ NSTDA SPACE Education

สรุปผลรางวัล

1. รางวัลทีมชนะเลิศ ทีม Solar System [3]
เงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

2. รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีม Kibou-Kijai
เงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท

3. รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม KIBO:BXK
เงินรางวัลมูลค่า 9,000 บาท

4. รางวัลทีมนำเสนอดีเด่น ทีมที่ 1 ทีม 404 Bug Not Found
เงินรางวัลมูลค่า 3,000 บาท

5. รางวัลทีมนำเสนอดีเด่น ทีมที่ 2 ทีม Astronut
เงินรางวัลมูลค่า 3,000 บาท

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Astrobee Kibo-RPC The 3rd Kibo Robot Programming Challenge คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3 ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี นายชยพล วงศ์ภูวรักษ์ นายภูรี เพ็ญหิรัญ นายอัสกัส สมานสี

Continue Reading

Previous: อันดับคะแนนรอบ 40 ทีมสุดท้าย โครงการ The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge
Next: รายชื่อหน่วยงานและสถาบันการศึกษา โครงการราชพฤกษ์อวกาศ สวทช.

Related Stories

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy