โครงการ Asian Try Zero-G 2022 โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (JAXA) ขอเชิญชวนเยาวชนและคนรุ่นใหม่ ส่งความคิดไอเดียการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ เพื่อนำไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS/Kibo) โดยนักบินอวกาศญี่ปุ่น ดร.โคอิจิ วากาตะ
ประเภทการรับสมัคร
- รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี
- รายบุคคลหรือกลุ่ม (ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในกลุ่ม)
- ส่งแนวคิดการทดลองทางฟิสิกส์อย่างง่าย (เป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ใน Kibo Module ของ JAXA บนสถานีอวกาศนานาชาติ (สามารถเสนอใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กอื่นๆ เพื่อส่งขึ้นไปบนสถานีอวกาศได้)
- ขั้นตอนการทดลองต้องมีความเรียบง่ายและทำให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 10 นาที
- ผู้สมัครสามารถส่งแนวคิดการทดลองได้มากกว่า 1 เรื่อง โดยแยกส่งครั้งละ 1 เรื่อง
- รุ่นอายุไม่เกิน 27 ปี
- รายบุคคลหรือกลุ่ม (ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในกลุ่ม)
- ส่งแนวคิดการทดลองทางฟิสิกส์อย่างง่าย (เป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ใน Kibo Module ของ JAXA บนสถานีอวกาศนานาชาติ (สามารถเสนอใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กอื่นๆ เพื่อส่งขึ้นไปบนสถานีอวกาศได้)
- * ข้อเสนอแนวคิดการทดลองต้องมีสมมติฐาน หลักการ และเหตุผลของการทดลอง *
- ขั้นตอนการทดลองต้องมีความเรียบง่ายและทำให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 10 นาที
- ผู้สมัครสามารถส่งแนวคิดการทดลองได้มากกว่า 1 เรื่อง โดยแยกส่งครั้งละ 1 เรื่อง
ดาวน์โหลดไฟล์
- แบบฟอร์มใบสมัคร
(Experiment proposal form) - คู่มือแนะนำโครงการ
(Guidelines) - อุปกรณ์ที่มีอยู่บนสถานีอวกาศพร้อมใช้เพื่อการทดลอง
(Available onboard items) - ตัวอย่างใบสมัคร
(Sample of experiment proposal)
รางวัล
โดยผู้ได้รับคัดเลือกจะได้รับเกียรติบัตรโครงการ Asian Try Zero-G 2022 พร้อมโอกาสชมการทดลองจากศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น และของรางวัลสุดพิเศษจาก JAXA
ระยะเวลาการรับสมัคร
วันนี้–30 เมษายน พ.ศ. 2565
ส่งใบสมัครและสอบถามข้อมูล
- E-mail : spaceeducation@nstda.or.th
- Facebook : https://www.facebook.com/NSTDASpaceEducation
- Call for Proposals of ISS Experimental Themes for Asian Try Zero-G 2022
ข้อมูลโครงการ Asian Try Zero-G 2015 / 2016 / 2018
- Asian Try Zero-G 2018 ภารกิจอวกาศ ณ ประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 1
- Asian Try Zero-G 2018 ภารกิจอวกาศ ณ ประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 2 (จบ)
- เปิดประสบการณ์เด็กไทย Asian Try Zero-G 2016 กับไอเดียทดลองในห้วงอวกาศ “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ (Capillary in Zero gravity)”
- ไอเดียเด็กไทยเจ๋ง! Asian Try Zero-G 2015 มนุษย์อวกาศญี่ปุ่นเลือกไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ