องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (National Aeronautics and Space Administration: NASA) มีความร่วมมือกันภายใต้โปรแกรม JAPAN US Open Platform Partnership (JP-US OP3) ดำเนินการจัดการแข่งขัน เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee ในชื่อ Kibo Robot Programming Challenge ซึ่งการจัดแข่งขันในปี พ.ศ. 2566 นี้ จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 เพื่อค้นหาตัวแทนทีมเยาวชนจากประเทศสมาชิก Kibo-ABC (Asian Beneficial Collaboration through “Kibo” Utilization) เข้าร่วมโครงการแข่งขัน The 4th Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์นานาชาติ ในเดือนตุลาคม 2566 ณ ศูนย์อวกาศสึกุบะ (Tsukuba Space Center) ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน คือหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA และหุ่นยนต์ Int-Ball ของ JAXA โดยการแข่งขันกำหนดให้เยาวชนผู้เข้าร่วมการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา JAVA เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ Astrobee ที่ใช้งานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ให้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย ในการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถด้านสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรสมาชิกของ Kibo-ABC ได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย เพื่อคัดเลือกทีมผู้ชนะตัวแทนเยาวชนไทย จำนวน 1 ทีม (สมาชิกในทีม 3-5 คน) เข้าร่วมการแข่งขัน The 4th Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์นานาชาติในเดือนตุลาคม 2566 ต่อไป
โดย สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (สทอศ.) ร่วมสนับสนุนโดย บริษัท เดลว์ แอโรสเปซ จำกัด (DELV AEROSPACE) และ บริษัท เอ็นบีสเปซ จำกัด (NBSPACE) ดำเนินการจัดการแข่งขันภายในประเทศร่วมกัน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนทุกระดับชั้น จนถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
กติกาการแข่งขัน (สำหรับประเทศไทย)
1. สมัครเข้าร่วมการแข่งขันประเภททีม สมาชิกทีมละ 3-5 คน โดยสมาชิกในทีมสามารถเรียนอยู่ต่างระดับชั้นและต่างสถาบันการศึกษาได้
2. สมัครทางออนไลน์ภายในวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 23.59 น. เมื่อทางโครงการฯ ได้รับข้อมูลใบสมัครแล้ว ระบบอัตโนมัติจะส่งข้อมูล Team ID ทางอีเมลของหัวหน้าทีม เพื่อใช้เข้าสู่ระบบ Server ของ JAXA และใช้เป็น Team ID สำหรับส่งไฟล์ APK เข้าร่วมการแข่งขัน
3. ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษา JAVA ปฏิบัติภารกิจตามที่กำหนด เพื่อบังคับหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee ของ NASA ในระบบ Simulator บน Server ของ JAXA ประเทศญี่ปุ่น ที่ลิงก์ https://jaxa.krpc.jp/ โดยสามารถศึกษาได้จากคู่มือประกอบการแข่งขัน
4. การแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติ ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 จะเป็นการ Run Program จริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS/Kibo) เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee และถ่ายทอดสดจาก Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น โดยสื่อสารแบบ Real-time กับสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งมีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการแข่งขัน
การส่งใบสมัครและเอกสารคู่มือ
Application Form (ใบสมัครออนไลน์) กรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ (สมาชิกทีมละ 3-5 คน) |
ดาวน์โหลดไฟล์ Guide Book (คู่มือแนะนำ) ภาษาอังกฤษ |
กำหนดการ
- เปิดรับใบสมัคร
ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 23.59 น. - กำหนดส่ง Code รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
ภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2566 (ก่อนเวลา 23.59 น.) - การแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติ
ตุลาคม 2566
เงินรางวัล
- รางวัลทีมชนะเลิศ
ทุนการศึกษา 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร - รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 1
ทุนการศึกษา 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 2
ทุนการศึกษา 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลทีมนำเสนอยอดเยี่ยม
ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
หมายเหตุ
- ผลตัดสินการแข่งขันของผู้จัดงานถือเป็นที่สิ้นสุด กำหนดการและข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
- ทีมที่ส่งไฟล์ APK เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรจากโครงการ (e-Certificate)
- มูลค่าเงินรางวัลต่าง ๆ จะมีการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% และจะมีเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่งไปให้ตามรายชื่อผู้รับเงินต่อไป
รายชื่อประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน
- Australia
- Bangladesh
- Indonesia
- Japan
- Malaysia
- Nepal
- Singapore
- Taiwan
- Thailand
- United States of America (USA)
- United Arab Emirates (UAE)
- United Nation (UN)
จัดโดย
หน่วยงานร่วมจัด
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
- สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (สทอศ.)
ร่วมสนับสนุนโดย
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
E-Mail: spaceeducation@nstda.or.th Facebook: NSTDA SPACE Education
คลิปอบรมออนไลน์ (2565)
1. Basic Concepts of The 3rd Kibo-RPC
2. Basic Concepts of Vectors and 3D Space
3. Basic Concepts of Programming and Image Processing