Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Hubble Cast
  • ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet

NSTDA SPACE Education 03/01/2021

          กล้องฮับเบิลถ่ายภาพสามกาแล็กซีในกลุ่มดาวสิงโต ที่เรียกว่า Leo Triplet กาแล็กซีที่มีรูปทรงผิดปกติ เป็นรูปทรงกังหันที่มีแขนกังหันไม่สมมาตรกัน และมีแกนกลางเคลื่อนที่ตลอดเวลา เป็นโครงสร้างที่แปลกประหลาด คล้ายกับว่ากาแล็กซีหนึ่งมีพลังแรงโน้มถ่วง ดึงอีกสองกาแล็กซีให้เข้ามารวมกันเป็นสาม

          กาแล็กซีรูปทรงกังหันที่ผิดปกตินี้คือ M 66 อยู่ห่างออกไปประมาณ 35 ล้านปีแสง ปรากฏในกลุ่มดาวสิงโต อยู่ร่วมกับ M 65 และ NGC 3628

          โดย M 66 เป็นหนึ่งในสามของ Leo Triplet คือกลุ่มของสามกาแล็กซีที่มีปฏิกิริยาระหว่างกัน บางทีเรียกว่า กลุ่มของ M 66 เพราะ M 66 มีขนาดใหญ่กว่าอีกสองกาแล็กซี มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 100,000 ปีแสง และ M 66 ยังเป็นกาแล็กซีแปลกที่สุด คือมีแขนกังหันที่ไม่สมมาตรกัน ดูเหมือนมันกำลังก่อตัวเป็นแผ่นจานหลัก ทำให้แกนกลางหรือนิวเคลียสมีการเคลื่อนที่

          การที่แขนกังหันไม่สมมาตรนี้ ถือว่าผิดปกติ เพราะตามปกติ พลังงานจากก๊าซความหนาแน่นสูง จากฝุ่นและดาวฤกษ์เกิดใหม่ที่ศูนย์กลาง จะเป็นคลื่นกระจายออกไปเท่ากันทุกทิศทางในกาแล็กซี

          นักดาราศาสตร์เชื่อว่าในอดีต M 66 เคยมีรูปทรงปกติ แต่ต่อมาถูกแรงโน้มถ่วงของเพื่อนบ้านทั้งสองดึงดูดให้มันบิดเบี้ยวไป

          กล้องฮับเบิลถ่ายภาพแถบฝุ่นของ M 66 และกระจุกดาวฤกษ์สว่างที่แขนกังหันให้เห็นได้ชัดเจน

          ภาพกระจุกดาวฤกษ์ มีพื้นที่สีฟ้าและสีชมพูอ่อน นี่คือกุญแจให้นักดาราศาสตร์ไขปริศนาว่า กาแล็กซีขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร

          M 66 เคยมีบันทึกการเกิดซูเปอร์โนวา ดาวระเบิด กาแล็กซีกังหันนี้เป็นแหล่งของซูเปอร์โนวา 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 และครั้งสุดท้ายเกิดในปี ค.ศ.2009

          เมื่อเกิดซูเปอร์โนวา คือดาวฤกษ์ระเบิด จะทำให้เกิดแสงสว่างเจิดจ้าขึ้นในกาแล็กซีนั้น แล้วมันจะค่อยๆ จางหายไป ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน

          แม้ซูเปอร์โนวาจะเกิดในช่วงสั้นๆ แต่มันปลดปล่อยรังสีพลังงานสูงออกมามากมาย และคงอยู่ในช่วงยาวนานถึงหมื่นล้านปีทีเดียว


แปลและเรียบเรียงโดย
อาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปิน

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Leo Triplet กาแล็กซี

Continue Reading

Previous: เราได้อะไรจากการไปอวกาศ
Next: ภาพดวงจันทร์ วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 เวลา 08:14 น.

Related Stories

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล

02/02/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล

06/01/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 33: แสงเหนือ แสงใต้ของดาวเสาร์
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 33: แสงเหนือ แสงใต้ของดาวเสาร์

14/11/2020

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy