การสัมมนา NAC 2017
National Space Exploration : พัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีอวกาศ
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ห้องประชุม CC-308 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ปัจจุบัน การทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในอวกาศ เป็นสิ่งสำคัญในศึกษาและเรียนรู้การมีชีวิตและการเจริญเติบโตในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย พืช หรือ แม้แต่การรวมตัวของแร่ธาตุในอวกาศที่แตกต่างจากโลก อย่างเช่นผลึกคริสตัลที่สามารถเกาะกลุ่มรวมตัวกันได้ทุกทิศทาง การผลิตยารักษาโรคแบบใหม่ที่ต้องอาศัยสภาะวะไร้แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น ทั้งการเคลื่อนที่ของวัตถุ สสาร หรือ แม้แต่มนุษย์เองก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาต่างๆ ได้ รวมทั้งการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กที่คนไทยสามารถผลิตได้เองด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
สวทช. ได้ริเริ่มความร่วมมือกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAPAN AEROSPACE EXPLORATION AGENCY (JAXA) โดยเล็งเห็นว่า ประเทศไทยน่าจะส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานวิจัยที่ใช้สภาวะแวดล้อมไร้น้ำหนักบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อพัฒนางานวิจัย และสร้างความตื่นตัวให้แก่เยาวชน นักวิจัยและสาธารณชน เกี่ยวกับความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งประเทศไทยยังขาดความรู้และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านอวกาศอยู่อีกมาก
การสร้างผลงานวิจัยและความตื่นตัวดังกล่าวจะเกิดผลสำเร็จได้ด้วยดี โดยผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานด้านอวกาศของไทย เช่น สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. และองค์กรที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศชั้นนำของโลก เช่น JAXA ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
กำหนดการ | |
13.00 – 13.30 น. | ลงทะเบียน |
13.30 – 14.15 น. | Discover: Thailand’s Astronauts Global Scholarship Program 2017 โดย คุณกฤษณ์ คุนผลิน ผู้แทน ศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ (U.S. Space & Rocket Center) |
14.15 – 14.45 น. | Thailand Space Education and Asian Try Zero-G 2017-2018 โดย ดร. กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการ ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช. |
14.45 – 15.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 15.30 น. | Thailand – National Space Exploration 2017
โดย ดร.อัมรินทร์ พิมพ์หนู |
15.30 – 16.00 น. | KNACKSAT: A Thai Educational Satellite
โดย ศ. ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
16.00 – 16.30 น. | Introduction to JAXA space mission and collaboration
โดย Mr.Masanobu Tsuji |