การสัมมนา “อวกาศ : ขุมทรัพย์แห่งมวลมนุษยชาติ ”
“Space : Infinite Assets for All Humankind”
วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2560
เวลา 8:30 – 16:00 น.
ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
โดย
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเป็นมา
การสำรวจอวกาศและการดำเนินการที่เกี่ยวกับอวกาศนั้นนับเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก โดยนับจากอดีตถึงปัจจุบัน การดำเนินการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในหลายๆ ด้านเพื่อแก้ไขปัญหาที่ท้าทายต่างๆ และก่อให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมากมายที่นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล อุปกรณ์ไร้สาย เมมโมรีโฟม หรือแม้กระทั่งเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ทางหู นอกจากนี้ การสำรวจอวกาศ และการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและก่อให้เกิดความสนใจในการศึกษาด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ปัจจุบัน นานาชาติต่างให้ความสำคัญต่อการสำรวจอวกาศและการประยุกต์ใช้ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทางเลือก การเฝ้าระวังภัยจากอวกาศ ทรัพยากรแร่ธาตุจากอวกาศ (Space mining) หรือแม้กระทั่งการเดินทางในอวกาศเพื่อสร้างอาณานิคมเพื่อเป็นหลักประกันการอยู่รอดในอนาคต
ในการสำรวจอวกาศนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจถึงสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (microgravity) จัดเป็นรากฐานสำคัญ ซึ่งต้องการการเรียนรู้และค้นคว้าวิจัยถึงสภาวะแวดล้อมอวกาศรวมทั้งผลที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในอดีต ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการศึกษาด้านนี้มากนัก และยังไม่มีนโยบายด้านการสำรวจอวกาศที่ชัดเจน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติจึงได้จัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติปี 2560 – 2579 ขึ้น โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์ใน 7 ด้าน คือ
1. การพัฒนากิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง
2. กิจการอวกาศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3. การพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศ
4. การบริหารโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศของประเทศ
5. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอวกาศ
6. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
7. การพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ
ในการดำเนินการส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 ให้เป็นรูปธรรมนั้น สทอภ. ได้ร่วมกับ สวทช. ดำเนิน “โครงการทดลองในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง หรือ National Space Exploration : NSE” โดยจะเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีความต้องการทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำและในอวกาศ และมีศักยภาพสามารถนำไปขยายผลต่อยอดงานวิจัยเพื่อผลิตเป็นชิ้นงาน เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ นอกจากนี้ สทอภ. และ สวทช. ยังได้มีการประสานความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มสมาคมนานาชาติ เช่น Asia-Pacific Regional Space Agency Forum (APRSAF) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้วย
กำหนดการ (AGENDA)
08:30 – 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 – 09:20 น. พิธีเปิดการสัมมนา
โดย ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
กล่าวรายงานประธานต่อ ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์
กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
09:20 – 09:50 น.
กล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาเรื่อง “ทำไมประเทศไทยต้องมีโครงการอวกาศ”
โดย ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์
09:50 – 10:00 น.
มอบของที่ระลึกแด่ประธานในพิธีและร่วมถ่ายภาพหมู่
10:00 – 10:10 น.
อาหารว่างพร้อมชมนิทรรศการ
10:10 – 10:15 น.
ชมวีดีทัศน์ “เราจะไปอวกาศด้วยกัน : Go Space Together” จาก สวทช.
(https://www.youtube.com/watch?v=qtuwDDhajHk)
10:15 – 11:00 น.
รับฟังการบรรยาย การสารวจและทดลองงานวิจัยในอวกาศของไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
– กิจกรรมวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองในอวกาศของไทยที่ผ่านมา
โดย ดร. กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อานวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช.
– แนวทางการสำรวจอวกาศและการทดลองงานวิจัยในอวกาศในปัจจุบัน
โดย ดร. อัมรินทร์ พิมพ์หนู หัวหน้าโครงการ National Space Exploration สทอภ.
11:00 – 12:00 น.
รับฟังบรรยายใน International Space Research in Microgravity as well as Facilities and Capabilities (ภาษาอังกฤษ)
– China National Space Administration (CNSA)
ไฟล์ Presentation
12:00 – 13:00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น.
รับฟังบรรยายใน International Space Research in Microgravity as well as
Facilities and Capabilities (ต่อ)
– Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA)
ไฟล์ Presentation (Mr.Masanobu TSUJI | Mr.Fumiaki TANIGAKI)
– Russian Federal Space Agency (ROSCOSMOS)
15:00 – 15:10 น.
อาหารว่างพร้อมชมนิทรรศการ
15:10 – 16:00 น.
“Brainstorm คนไทยเพื่องานวิจัยในอวกาศ”
– สรุปแนวทางความร่วมมือที่ได้รับจากต่างประเทศ
– รับฟังข้อเสนอแนะแนวทางงานวิจัยและการทดลองในอวกาศ
– ซักถามและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
Photo Galley