Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Hubble Cast
  • ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 22: สังเกตดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 22: สังเกตดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์

NSTDA SPACE Education 11/09/2020

          กล้องฮับเบิลของ NASA / ESA ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เป็นครั้งแรกที่ถ่ายภาพช่วงแสงที่ตาเห็นได้โดยตรง ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ดวงแม่มาก ปกคลุมไปด้วยแถบของก๊าซและฝุ่นขนาดมหึมา และอาจมีระบบวงแหวนที่น่าสนใจมากกว่าดาวเสาร์เสียอีก

          กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรรอบโลกของเรา กำลังช่วยงานสำคัญให้นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

          มีดาวเคราะห์ลึกลับหลายดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่น และสิ่งที่เราอยากรู้ กล้องฮับเบิลก็มาเปิดเผยให้เราอีกแล้ว

          จากการค้นพบที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อหันกล้องไปสังเกตที่ดาวฤกษ์ที่ชื่อ ฟอมาลฮอท (Fomalhaut)

          ดาวฟอมาลฮอท เห็นได้ในฟ้าซีกใต้และเป็นดาวสว่างมากดวงหนึ่งยามค่ำคืน อยู่ไกลจากเราประมาณ 25 ปีแสง ซึ่งถือว่าอยู่ไม่ไกลมากนัก

          มันร้อนกว่าดวงอาทิตย์ของเรา และสว่างมากกว่าถึง 15 เท่า เพราะเผาผลาญไฮโดรเจนในอัตราที่รุนแรงมาก และเชื้อเพลิงจะหมดในช่วงพันล้านปีข้างหน้า ซึ่งมีช่วงชีวิตแค่ร้อยละ 10 ของดวงอาทิตย์ของเรา

          แต่ที่น่าสนใจมากที่สุด คือ แผ่นจานขนาดใหญ่ของก๊าซที่ล้อมรอบดาวดวงนี้ ดูเหมือนเข็มขัด ลักษณะแบบนี้ได้จุดประกายความสนใจให้นักดาราศาสตร์

          ดาวฟอมาลฮอท ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางของแผ่นจาน อาจเป็นเพราะแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ จึงทำให้มีรูปทรงเป็นแบบนี้

          กล้องฮับเบิลจึงมาช่วยไขปริศนาแผ่นจาน ที่มีรูปร่างผิดปกตินี้ และเมื่อได้สังเกตตำแหน่งของดาวเคราะห์จากภาพของกล้องฮับเบิล โดยละเอียด พบว่ามันมีวงโคจรไกลจากดาวฟอมาลฮอทมากประมาณ 10 เท่าของระยะห่างจากดาวเสาร์ถึงดวงอาทิตย์

          และเพื่ออ้างอิงถึงดาวฤกษ์ดวงแม่ นักดาราศาสตร์จึงตั้งชื่อดาวเคราะห์ดวงนี้ในทางดาราศาสตร์และให้จำได้ง่ายๆ ว่า ฟอมาลฮอท บี

          มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมาก่อนหน้านี้แล้วหลายดวง แต่เป็นการค้นพบทางอ้อมคือการสังเกตลักษณะอื่นๆ เช่น สังเกตดาวฤกษ์เปลี่ยนตำแหน่งไป เพราะแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ในวงโคจร หรือแสงดาวฤกษ์ลดลงเพราะดาวเคราะห์โคจรมาบังด้านหน้า

          แต่ครั้งนี้ กล้องฮับเบิลถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะนี้ให้เห็นได้โดยตรง และเป็นครั้งแรกที่ถ่ายภาพในช่วงแสงที่ตาเห็น เหมือนภาพที่เรามองเห็นทั่วๆ ไป

          มหัศจรรย์มาก กล้องฮับเบิลถ่ายภาพดาวเคราะห์ในวงโคจรนี้ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่ทำได้ 2 ครั้ง ในช่วงเวลาห่างกันเกือบ 2 ปี เห็นจุดแสงของดาวเคราะห์ดวงเดิม เคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปรอบดาวฤกษ์ นั่นคือเราได้เห็นเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์

          และมันไม่ใช่แค่การได้เห็นวงโคจรเท่านั้น นักดาราศาสตร์คำนวณต่อไปว่า ดาวเคราะห์ใช้เวลาประมาณ 872 ปีของโลก จึงจะโคจรครบรอบ

          ปัจจุบันนักดาราศาสตร์สนใจถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะกันมาก “ฟอมาลฮอท” เป็นดาวฤกษ์สว่างมากดวงหนึ่งในท้องฟ้า

          เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ดาวเคราะห์จึงเป็นเพียงจุดแสงเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งการสังเกตเห็นจุดแสงนี้ทำได้ยากมาก เพราะว่าแสงเจิดจ้าของดาวฤกษ์จะบดบังแสงดาวเคราะห์ จึงต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่ชื่อ “โคโรนากราฟ”

          กล้องฮับเบิลจึงใช้อุปกรณ์นี้ถ่ายภาพดาวเคราะห์ได้โดยตรง แล้วนำมาช่วยสืบค้นข้อมูลอื่นๆ ได้ตามมา เช่น รูปทรงของแผ่นจานแบบนี้ แสดงว่ามันอาจมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีถึง 3 เท่า

และยังพบอีกว่า ฟอมาลฮอท บี  สว่างมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับขนาดของมัน

          อาจมีระบบวงแหวนมหึมา ใหญ่กว่าของดาวเสาร์มาก ที่ช่วยสะท้อนแสงดาวฤกษ์ทุกทิศทางอีกส่วนหนึ่ง ในอนาคต สสารของวงแหวนอาจรวมกันเป็นดวงจันทร์ของมันเอง

          โชคไม่ดีที่เราไม่มีโอกาสไปดาวเคราะห์ดวงนี้ แม้จะดูว่ามันอยู่ไม่ไกลจากเรามาก เมื่อคิดถึงระยะทางในจักรวาล

          แต่ยานอวกาศยังต้องใช้เวลานับพันปีจึงจะไปถึง

          ยังโชคดีที่กล้องฮับเบิลช่วยค้นพบสิ่งพิเศษสุดให้เรา ภาพที่น่าตื่นตาและความรู้วิทยาศาสตร์สุดมหัศจรรย์

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Fomalhaut ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ ฟอมาลฮอท ฮับเบิล

Continue Reading

Previous: JAXA เตรียมปล่อยแคปซูลของยานฮายาบูซะ 2 บรรจุตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยริวงู ช่วงต้นเดือน ธ.ค. 63
Next: ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 23: มองสิ่งที่ไม่เห็น

Related Stories

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล

02/02/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล

06/01/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet

03/01/2021

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy