การประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2555
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่อง  การบริหารความเสี่ยงสำหรับการรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ
จากสภาวะโลกร้อน : มุมมองของห้องสมุด
วันพุธที่ 4 – วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2555
ห้อง Hall C ชั้น 1 รร.แอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ

หลักการและเหตุผล

             จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมาของประเทศไทยส่งผลกระทบต่อห้องสมุดหลายแห่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นมิได้กระทบเพียงอาคารสถานที่ อุปกรณ์ครุภัณฑ์ ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา แต่ยังกระทบถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายการสื่อสาร และระบบสำรองข้อมูล ตลอดทั้งระบบการให้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากเปียกน้ำ จมน้ำ แช่น้ำ เป็นระยะเวลานาน ทำให้ระบบดังกล่าว ตลอดทั้งทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และมีไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบหลังน้ำท่วม จากปัญหาของความชื้น หนังสือ สื่อดิจิทัลต่างๆ ขึ้นรา นอกเหนือจากภัยจากน้ำท่วมแล้ว ยังอาจมีภัยพิบัติในรูปแบบอื่นๆ เกิดขึ้นอีกได้ เนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สภาวะโลกร้อน การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อรับมือภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงเป็นหัวข้อใหญ่ที่หลายๆ องค์กรให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้น การบริหารจัดการของห้องสมุดเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว จึงเป็นประเด็นที่ห้องสมุดควรเร่งดำเนินการ


          ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่ต้องมีการวางแผนในเรื่องของการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมทั้งอาจจะมีภัยอื่นๆ เกิดขึ้นด้วย จึงได้จัดการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2555 ขึ้น ภายใต้หัวข้อเรื่อง “การบริหารความเสี่ยงสำหรับการรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติจากสภาวะโลกร้อน : มุมมองของห้องสมุด” ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยเฉพาะประเด็นที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย แนวคิดหลักการของการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยง เพื่อรับมือภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกจากกรณีศึกษาน้ำท่วมที่ผ่านมาน่าจะเป็นประเด็นตั้งต้นที่ดีและน่าสนใจ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากสิ่งที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นกรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุดต่อไป

 

วัตถุประสงค์

 

  1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นและที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการรับมือของห้องสมุด
  2. เพื่อนำเสนอแนวคิดและส่งเสริมการประยุกต์ใช้ ICT ที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุด
  3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ และเป็นกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด
     

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สร้างความตระหนักในการเตรียมรับสถานการณ์จากภัยพิบัติต่างๆ
  2. ทราบวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับห้องสมุด ด้วยวิธีการ เครื่องมือต่างๆ และการประยุกต์ใช้จากIC

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  1. ผู้บริหารห้องสมุด สำนักหอสมุด และศูนย์บริการสารสนเทศ
  2. บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ เจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ นักวิชาการ
  3. ผู้สนใจทั่วไป

รูปแบบการประชุมวิชาการ

  •    การบรรยาย เสวนาทางวิชาการ และนิทรรศการทางวิชาการ

สถานที่ติดต่อ

  • ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    ชั้น 2 ห้อง 206 อาคารสำนักงานกลาง
    โทรศัพท์ :  0 2564 7000 ต่อ 1237 - 1244
    โทรสาร : 0 2564 7060 
    อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

กำหนดการ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2555

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.30 น. พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สวทช. และหน่วยงานเครือข่าย
09.30 - 10.00 น. รับประทานอาหารว่าง
10.00 - 10.30 น. กล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ
โดย
  • ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
    รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

"การบริหารจัดการภัยพิบัติด้วยวิธีการและเครื่องมือต่างๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ช่วยชีวิต และการฟื้นฟูบูรณะหลังเกิดภัยพิบัติล้วนต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ในฐานะที่เป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย จึงขอนำเสนอบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการบริหารจัดการภัยพิบัติ"

10.30 - 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง ภัยพิบัติและแนวโน้มภัยพิบัติใหม่ที่อาจจะเกิดในประเทศไทย
โดย
  • รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์
    ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต

“ในทศวรรษที่ผ่านมามีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมายในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในอนาคตแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติจะมีเพิ่มขึ้น รุนแรงมากขึ้น อีกทั้งอาจจะมีรูปแบบที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาก่อน หรือที่เรียกว่าภัยพิบัติอุบัติใหม่ การศึกษาติดตามว่าจะมีภัยพิบัติใหม่อื่นๆ นอกเหนือจากวาตภัย อุทกภัย โคลนถล่ม ภัยหนาว ภัยแล้ง ฯลฯ เกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ รวมทั้งการศึกษาถึงประเด็นว่าเราควรมีการเตรียมพร้อมกันอย่างไร”

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. เสวนาประสบการณ์จากหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ
โดย
  • ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ : Presentation
    ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.นฤมล รื่นไวย์ : Presentation
    ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  • คุณกฤษฎา เผดิมพรร่มเย็น
    Process ,Risk and Compliance Manager 
    บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด
  • นายสุริยะ ปริปุณณะ
    ผู้จัดการ Corporate BCM
    บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ดำเนินรายการโดย
  • นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์                         
    หัวหน้างานงานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล
    ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

“จากเหตุการณ์มหาอทุกภัยปี 54 หลายหน่วยงานในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว การแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบในประเด็นการดำเนินการระหว่างน้ำท่วม การฟื้นฟูหลังกลับเข้าสู่สภาวะปรกติ ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงด้วยการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ จากหน่วยงานที่ผ่านการรับมือมาแล้ว อย่าง SCG, ปตท., สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยจึงน่าจะเป็นองค์ความรู้ที่ผู้รับฟังทุกท่านจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม”

15.00 - 15.15 น. รับประทานอาหารว่าง
15.15 - 16.00 น. การบรรยาย เรื่อง การบริหารความเสี่ยงกรณี CP ALL 
โดย
  • นายวิเชียร จึงวิโรจน์
    รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

“หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยปี 54 หน่วยงานหนึ่งก็คือร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ในเครือ CP All ซึ่งได้รับผลกระทบจำนวนมาก การวางแผนเพื่อบริหารความเสี่ยงในการรับมือภัยพิบัติจาก CP All จึงเป็นอีกหัวข้อที่จะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจในประเด็นการบริหารความเสี่ยงสำหรับการรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติของทุกท่านได้”

16.00 - 16.20 น. Lucky Draw

 

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2555

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.45 น Applications of Cloud Computing Services
โดย
  • ดร.ศุภกิจ พฤกษอรุณ
    ผู้ช่วยวิจัย หน่วยวิจัยสารสนเทศ การสื่อสารและการคำนวณ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

“Cloud computing เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ได้รับการพูดถึงมากในช่วงมหาอุทกภัยที่ผ่านมา อันเป็นหนึ่งในระบบไอซีทีที่สามารถใช้เป็นแผนสำรองอีกหนึ่งแผนเพื่อรับมือภัยพิบัติ และช่วยให้การบริการเป็นไปโดยต่อเนื่อง ดังนั้น Cloud computing และบริการบนระบบนี้จึงเป็นระบบที่องค์กร รวมทั้งห้องสมุดควรศึกษา และกำหนดแผนเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการบริการต่างๆ ของห้องสมุด”

09.45 - 10.45 น.

การเสวนาเรื่อง Service Science for Library
โดย   

  • ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์
    ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สถาบันวิทยาการ สวทช.
  • ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
    หัวหน้าสาขา วิชาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ดำเนินรายการ

  • ว่าที่ร้อยตรี พรพรหม อธีตนันท์
    รองผู้อำนวยการฝ่าย สถาบันวิทยาการ สวทช.
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

“การนำเอาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยปรับปรุงการให้บริการต่าง ๆ ของห้องสมุด โดยผ่านการวิเคราะห์ทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์”

10.45 - 11.00 น. รับประทานอาหารว่าง
11.00 - 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง  ถอดรหัส SCG Model
โดย
  • นางฉวีวัณณ์  วิชชุภานันท์
    ผู้จัดการอาวุโสพัฒนาเครือข่ายทางเทคโนโลยี สำนักงานเทคโนโลยี 
    บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน

"การรู้จักเรียนรู้แก้ปัญหาและหาทางป้องกัน เพื่อพัฒนาสู่สิ่งที่ “ดีกว่า” เท่านั้น จึงจะสร้างคุณค่าให้กับวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ ที่สำคัญที่สุดของเอสซีจีคือ “การเตรียมพร้อม” มาร่วมรับฟังประสบการณ์ดังกล่าวผ่าน SCG Model "

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.45 น. การบรรยายและกรณีตัวอย่าง : การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
(BCM: Business Continuity Management) สำหรับห้องสมุด
โดย
  • ดร.บรรจง หะรังษี 
    บริษัท ที-เน็ต จำกัด

“การตั้งรับภัยพิบัติแต่เพียงอย่างเดียว โดยมิได้มีการวางแผนเพื่อมิให้งานของห้องสมุดหยุดชะงักไปนั้น คงไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอน ห้องสมุดจะมีวิธีการอย่างไรในการวางแผน/การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) เพื่อให้ห้องสมุดยังคงให้บริการและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”

14.45 - 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
15.00 - 15.45 น. การสร้างอำนาจต่อรองการซื้อฐานข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์ : ฝันที่เป็นจริง?
โดย
  • ดร.กษิติธร ภูภราดัย
    ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นางสาวดารารัตน์ รัชดานุรักษ์
    ผู้ช่วยวิจัยฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นางสาวปัญชลี พึ่งพิศ
    ผู้ช่วยวิจัยฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

“การศึกษาแนวทางการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการค้นคว้าวิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความคืบหน้า จนสามารถเห็นรูปแบบในการเข้าถึงซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการค้นคว้าวิจัยสำหรับประเทศไทยอย่างไร ทีมผู้วิจัยจะได้นำเสนอผลของการศึกษาใน 1 ปีที่ผ่านมา”

15.45 - 16.00 น. กล่าวปิด การประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2555
โดย
  • ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
    รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง

 

สิ่งที่จะได้รับในวันสัมมนา

  1. กระเป๋าผ้าซาตินใส่เอกสาร (NAC2012)
  2. หนังสือ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ และตัวอย่างงานวิจัยและนวัตกรรมในประเทศไทย"
  3. หนังสือ "อภิธานศัพท์โทรคมนาคมไทย"
  4. หนังสือ "จดหมายเหตุโทรคมนาคมโลกและประเทศไทย ฉบับพุทธศักราช 2555" พร้อมแผ่น CD
  5. หนังสือ "วิญญาณ วิทยาศาสตร์"
  6. ซีดีฐานข้อมูลบรรณานุกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อภัยพิบัติ
  7. ซีดีรวมโปรแกรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์
  8. สมุดโน้ต 1 เล่ม
  9. กางเกงแก้ว 1 ตัว
  10. น้ำยาฆ่าเชื้อรา 1 ขวด
  11. น้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 1 ขวด
  12. น้ำยาทำความสะอาด 1 ขวด